การยกระดับการกำกับดูแลกิจการ

แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย

แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย

         โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต หรือเรียกสั้น ๆ ว่า CAC  (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption) เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ 2553 เพื่อเป็น platform ให้บริษัทในประเทศไทยได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันโดยความสมัครใจในรูปแบบของ Collective Action  โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยมีเป้าหมายหลักคือ

  • ส่งเสริมและขยายเครือข่ายการประกอบธุรกิจที่โปร่งใส ปราศจากการจ่าย-รับสินบน
  • เปลี่ยนทัศนคติผู้นำภาคธุรกิจ ให้ปฏิเสธการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการุทจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ
  • ยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานที่สามารถควบคุมความเสี่ยงด้ายคอร์รัปชันของภาคธุรกิจเอกชน
  • ผลักดันให้ภาครัฐปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ยอมรับการมีส่วนร่วม และตรวจสอบได้

CAC ก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของ 8 องค์กรชั้นนำของภาคเอกชนไทย และได้มอบหมายให้ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย หรือ IOD ทำหน้าที่เป็นเลขานุการโครงการ และได้รับการสนับสนุนการดำเนินโครงการจาก Center for International Private ที่ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดย 8 องค์กรชั้นนำในประเทศไทยประกอบด้วย

  1. หอการค้าไทย
  2. หอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย (JFCCT)
  3. สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย
  4. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  5. สภาธุรกิจตลาดทุนไทย
  6. สมาคมธนาคารไทย
  7. สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  8. สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)

 

ในปี 2564  แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย ได้เฉลิมฉลองวาระครบรอบการก่อตั้ง CAC 10 ปี  จึงได้ทำการปรับ “ชื่อ”  “โลโก้” และ “ตรารับรอง” ของ CAC ใหม่  และได้เริ่มประกาศใช้ ชื่อ โลโก้ และตรารับรองใหม่ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 ดังนี้

  • ชื่อเดิม (ไทย):         โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต
  • ชื่อใหม่ (ไทย):         แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย
  • ชื่อเดิม (English):   Thailand Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption
  • ชื่อใหม่ (English):   Thai Private Sector Collective Action Against Corruption

CAC ได้ทำการปรับปรุงและเพิ่มตรารับรองสำหรับสมาชิกของ CAC โดยตราใหม่มีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่

  1. ตราสำหรับบริษัทที่ลงนามประกาศเจตนารมณ์
  2. ตราสำหรับบริษัทที่ผ่านการรับรอง หรือผ่านการต่ออายุการรับรอง
  3. ตราสำหรับบริษัทที่ประกาศเป็น CAC Change Agent และชักชวนบริษัทคู่ค้าที่เป็น SME ได้ตั้งแต่ 5 บริษัทขึ้นไป ให้เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ในโครงการ CAC SME Certification

     ไออาร์พีซี ยึดมั่นการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส เป็นธรรม สอดคล้องตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี  และไม่ยอมรับการคอร์รัปชันในทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม (Zero Tolerance)

     ไออาร์พีซี แสดงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน โดยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 มีการดำเนินงานที่ยึดหลักธรรมาภิบาล จรรยาบรรณ และจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ เพื่อแสดงออกถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการดังกล่าวอย่างแท้จริง คณะกรรมการบริษัทฯ จึงได้ประกาศ นโยบายและแนวปฏิบัติในการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน เพื่อให้ผู้บริหาร และพนักงานทั่วทั้งองค์กร ยึดถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด

  • ไออาร์พีซี ได้ลงนามประกาศเจตนารมณ์แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555
  • ไออาร์พีซี ได้ผ่านการรับรองการเป็นสมาชิก CAC เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2557
  • ไออาร์พีซี ได้รับการรับรองต่ออายุการการเป็นสมาชิก CAC ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560
  • ไออาร์พีซี ได้รับการรับรองต่ออายุการการเป็นสมาชิก CAC ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563

 

ไออาร์พีซี ได้รับการรับรองต่ออายุการการเป็นสมาชิก CAC ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566

     Thai Private Sector Collective Action Against Corruption หรือ CAC ได้ริเริ่มโครงการ CAC SME Certification เพื่อเสริมสร้างแนวร่วมต่อต้านการให้และรับสินบนในภาคเอกชน โดยได้นำประสบการณ์จากการดำเนินการโครงการรับรองบริษัทขนาดใหญ่มาต่อยอด ซึ่งกลุ่มธุรกิจ SME ที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้คือ บริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัทที่ไม่อยู่ภายในการควบคุมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และเป็นบริษัทที่มีรายได้ไม่เกิน 1,000 ล้านบาทต่อปี และเพื่อส่งเสริมโครงการ CAC SME Certification ดังกล่าวในฐานะสมาชิก CAC ไออาร์พีซี จึงได้ชักชวนและผลักดันให้ “คู่ค้า” ที่เป็น SME เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์ในโครงการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย ส่งผลให้ ไออาร์พีซี ได้รับรางวัล CAC CHANGE AGENT AWARD ในปี 2562 อีกด้วย

      ไออาร์พีซี ได้กำหนดให้นโยบายและแนวปฏิบัติด้านการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน เป็นนโยบายหนึ่งในแนวทางการบริหารจัดการแบบกลุ่มไออาร์พีซี  หรือ IRPC Group Way of Conduct เพื่อให้บุคลากรของไออาร์พีซี บริษัทในกลุ่มไออาร์พีซี และบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง ยึดถือปฏิบัติ พร้อมมีการมีติดตาม ตรวจสอบ และกำกับดูแลตามช่องที่เหมาะสม รวมถึงการส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลเพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันอย่างจริงจัง

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถเลือกตั้งคำยินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “การตั้งค่าคุกกี้” การตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ประเภทจำเป็นถาวร (Strictly Neccessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้เหล่านี้คือคุกกี้ที่มีความจำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ และให้ท่านใช้คุณสมบัติต่างๆในเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ (Analytical/Performance Cookies)

    คุกกี้เหล่านี้สามารถเก็บรวบรวมพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของท่าน ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของท่าน อีกทั้งยังสามารถวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาของเรา

ยินยอมตัวเลือกของฉัน