ห่วงโซ่คุณค่าเพื่อความยั่งยืน
Regarding IRPC’s objective to promote
การบริหารห่วงโซ่อุปทานแบบบูรณาการนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของกลยุทธ์เพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ไออาร์พีซี จึงมุ่งมั่นที่จะบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดย มีวัตถุประสงค์ที่จะตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในทุกๆ กระบวนการตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การจัดหาน้ำมันดิบและวัตถุดิบ การจัดซื้อจัดหาทั่วไป จนไปถึงการบริหารจัดการการขนส่ง และได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงซึ่งจะช่วยพัฒนาศักยภาพของคู่ธุรกิจและลูกค้าให้เติบโตควบคู่กันไปอย่างยั่งยืน
การจัดหาวัตถุดิบนับเป็นหนึ่งในกระบวนการหลักที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ การมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพจะสามารถทำให้มั่นใจได้ว่า ไออาร์พีซี จะไม่ได้รับผลกระทบต่อการจัดหาน้ำมันดิบและวิตถุดิบ ซึ่งอาจทำให้การดำเนินงานของบริษัทหยุดชะงัก ไออาร์พีซี จึงได้เริ่มวางแผนการจัดหาน้ำมันดิบและวัตถุุดิบในรูปแบบระยะยาว (Long Term) และประเภทครั้งคราว (Spot) ให้สอดคล้องกับความต้องการ รวมถึงการบริหารความเสี่ยงในด้านราคาและต้นทุนของวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง จนถึงการส่งมอบน้ำมันดิบและวัตถุดิบ
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานได้ที่ [LINK]
ไออาร์พีซี ให้ความสำคัญและมุ่งมั่นต่อการพัฒนาการบริหารจัดการจัดซื้อจัดหาอย่างยั่งยืน ซึ่งนับเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักของฝ่ายจัดซื้อจัดหา (Procurement Department) ไออาร์พีซี จึงพัฒนาระบบการบริหารจัดหาอย่างต่อเนื่อง โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการดำเนินงาน เพื่อตอบสนองต่อกลุ่มผู้ใช้งานในไออาร์พีซี และคู่ค้า ให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ระบบยังอำนวยความสะดวกให้คู่ค้าสามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลสินค้าและบริการได้ด้วยตนเอง รวมถึงเป็นช่องทางสื่อสารให้กับคู่ค้าเพื่อดำเนินตามแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้้อจัดหาอย่างยั่งยืนของไออาร์พีซี นอกจากนี้ไออารพีซี ได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ต่อคู่ค้าหลัก (Tier 1 Supplier) ทั้งหมดและหาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพด้านการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนร่วมกัน ทั้งนี้ ไออาร์พีซี ได้จัดทำการสำรวจความพึงพอใจและข้อคิดเห็นของคู่ค้าเป็นประจำ เพื่อเป็นการวิเคราะห์และปรับปรุุงกระบวนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ไออาร์พีซี ได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ภายใต้โครงการ PRO4.0 โดยมีระบบดังนี้
การบริหารจัดการขนส่งของไออาร์พีซี ประกอบด้วยการรับเรือขนส่งน้ำมันดิบที่ท่าเรือด้วยมาตรการขนถ่ายน้ำมันดิบอย่างปลอดภัย โดยกำหนดให้มีการตรวจและประเมินเรือก่อนที่จะเทียบท่าและทำการขนถ่ายสินค้าเพื่อระบุความเหมาะสมตามมาตรการความปลอดภัยของท่าเรือ ทั้งนี้ การตรวจประเมินเรือพิจารณาจาก Ship Inspection Report Program (SIRE) ตามมาตรฐานการตรวจประเมินเรือ Oil Companies International Marine Forum (OCIMF) เพื่อตรวจสอบจุดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม โดยเทียบเคียงกับแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices) นอกจากนี้ไออาร์พีซี ยังกำหนดให้เจ้าของเรือ (Tanker Owner) ทำแบบสอบถาม SIRE Vessel Inspection Questionnaires (VIQs) เพื่อระบุประเด็นด้านความปลอดภัยและการมลพิษที่เกิดขึ้น รวมถึงการตรวจสอบใบรับรองและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีการประเมินความสามารถในด้านการสื่อสารของลูกเรือ ตลอดจนการพิจารณาประสบการณ์การทำงานและการได้รับการฝึกอบรมที่เพียงพอ รวมถึงกำหนดให้มีมาตรการการบริหารความปลอดภัยต่าง ๆ ในเรือ อาทิ การตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ช่วยชีวิตและอุปกรณ์ดับเพลิงเป็นประจำ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์ฉุุกเฉิน และมีการบริหารจัดการระบบเรือที่สม่ำเสมอ เพื่อลดโอกาสในข้อผิดพลาดของเรือและเพิ่มความสามารถดำเนินการในพื้นที่ที่มีปัญหาที่อาจทำให้เกิดผลกระทบร้ายแรงในระยะยาว
นอกเหนือจากการขนส่งทางเรือแล้ว ไออาร์พีซี มีการบริหารจัดการขนส่งทางบกที่มีประสิทธิภาพทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ส่งมอบสินค้าได้ตามกำหนดเวลาที่ลูกค้าต้องการอย่างปลอดภัยต่อชุมชนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการจัดการขนส่งอย่างเป็นระบบและสามารถติดตามตรวจสอบได้ตลอดเวลาด้วยระบบ GPS นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ได้ร่วมมือกับกลุ่ม ปตท. ภายใต้กลุ่ม GLM (Group Logistics Management) ในการส่งเสริมการลดปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการขนส่ง รวมถึงการสนับสนุนให้ขับขี่อย่างปลอดภัยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า จึงทำให้มีลูกค้าเม็ดพลาสติกมากกว่าร้อยละ 90 เป็นลูกค้าที่ไออาร์พีซีให้บริการการขนส่ง และในปัจจุบัน ไออาร์พีซี มีการขนส่งเม็ดพลาสติกในปริมาณเฉลี่ย 90,000 ตันต่อเดือน
จากวัตถุประสงค์ของการสนับสนุนความยั่งยืนด้านการจัดซื้อเป็นเลิศ (Sustainable Procurement Excellence) ไออาร์พีซี มุ่งมั่นที่จะดำเนินกิจกรรมด้านการจัดซื้อภายใต้กลยุทธ์ 5 ประการ ได้แก่ 1) Smart Buyer 2) Data Management 3) Supplier Relationship Management (SRM) 4) Sustainable Management และ 5) Synergy & Collaboration
1. กลยุทธ์ Smart Buyer เน้นการสรรหาแบบ Strategic Sourcing2. กลยุทธ์ Data Management เน้นการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ที่เป็นระบบมากขึ้น เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในองค์กร3. กลยุทธ์ Supplier Relationship Management (SRM) เน้นการลดค่าใช้จ่าย ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันร่วมกับคู่ค้า4. กลยุทธ์ Sustainable Management เน้นการบูรณาการองค์ประกอบด้าน ESG เข้าไปในการบริหารจัดการคู่ค้า5. กลยุทธ์ Synergy & Collaboration (ภายในและภายนอกองค์กร และกลุ่ม ปตท.) เน้นในการเสริมสร้างการดำเนินงานทั้งหมดตลอดห่วงโซ่อุปทาน |
ไออาร์พีซี ปฏิบัติตามระเบียบการจัดซื้อด้วยวิธีและมาตรการตามระบบ รวมถึงการจัดนโยบายด้านการจัดซื้อให้เป็นเลิศภายใต้โครงการ EVEREST ซึ่งมุ่งเน้นที่
ไออาร์พีซี มุ่งมั่นที่จะพัฒนากลยุทธ์การจัดซื้อจัดหาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นที่จะควบคุมคุณภาพของสินค้าและบริการ รวมถึงกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่คำนึงถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) ตลอดจนการพิจารณาจากการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อมและระบบการจัดการคุณภาพอื่น ๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพ ปริมาณการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการ รวมไปถึงความไว้วางใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงานของไออาร์พีซี
ไออาร์พีซี มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรม ถูกต้องตามกฎหมาย และมีการกำกับดูแลกิจการที่ดีควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความสมดุลในทุก ๆ ด้าน เพื่อเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน ไออาร์พีซี เผยแพร่นโยบายนี้ และสนับสนุนให้คู่ค้านำหลักการดังกล่าวไปปฏิบัติ เพื่อขยายผลออกไปสู่สังคมในวงกว้างด้วย ดังนั้นเพื่อให้มีความเข้าใจถูกต้องร่วมกัน ไออาร์พีซี จึงได้จัดทำคู่มือการดำเนินงานจัดหาอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแนวทางให้คู่ค้านำไปปฏิบัติและกำหนดให้ประกาศนโยบายการจัดซื้อที่ยั่งยืน (Sustainable Procurement Policy) เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติเดียวกับ ไออาร์พีซี ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนต่อไป ในกรณีที่พบว่าคู่ค้าไม่ได้ปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว ไออาร์พีซี อาจมีแนวทางดำเนินการต่อคู่ค้า โดยพิจารณาจากผลกระทบและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อไปตามความเหมาะสม
จรรยาบรรณของคู่ค้า (Supplier Code of Conduct) ครอบคลุมทุกธุรกิจในทุกๆ ด้าน อาทิ จรรยาบรรณในด้านธุรกิจ ด้านสิทธิมนุษยชน และด้านความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ไออาร์พีซีกำหนดให้คู่ค้าลงนามและปฏิบัติตามจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด ตลอดจนสนับสนุนให้คู่ค้าของคู่ค้าปฏิบัติตามหลักการยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้จรรยาบรรณดังกล่าว ประกอบด้วย
ทั้งนี้ ไออาร์พีซี ดำเนินพัฒนาระบบการจัดซื้ออย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับสากลและเพื่อให้การดำเนินธุรกิจร่วมกันกับคู่ค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ไออาร์พีซี จึงจัดทำเว็บพอร์ทัลขึ้น ซึ่งเป็นทั้งช่องทางในการสื่อสารกับคู่ค้าและช่องทางในการตรวจสอบการจัดซื้ออย่างครบวงจร นอกจากนี้ยังมีระบบ e-Auction ที่เปิดโอกาสให้คู่ค้าแข่งขันกันอย่างเสรี โดยคู่ค้าสามารถเสนอราคาที่ดีที่สุดที่ยอมรับได้กันทั้งสองฝ่าย
สามารถอ่านคู่มือดำเนินงานจัดซื้อจัดหาอย่างยั่งยืนได้ที่
ไออาร์พีซี วิเคราะห์การใช้จ่าย (Spend Analysis) แยกสำหรับการจัดซื้อวัตถุดิบตั้งต้น (Feedstock) ของธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมี และการจัดซื้อทั่วไปสำหรับสารประกอบและเคมีภัณฑ์ โดยปัจจุบันมีสองหน่วยงานที่รับผิดชอบการตรวจสอบการใช้จ่ายของธุรกิจตนเอง แบ่งเป็น
1) ฝ่ายจัดซื้อที่ทำหน้าที่ในการติดตามค่าใช้จ่ายของเคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนประกอบ และอย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง
2) ฝ่ายจัดซื้อที่ทำหน้าที่ติดตามค่าใช้จ่ายสำหรับโรงกลั่นและวัตถุดิบปิโตรเคมีทุกประเภท
ไออาร์พีซี ใช้การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย (Spend Analysis) เพื่อตรวจสอบข้อมูลรายจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนการจัดซื้อ เพิ่มประสิทธิภาพ และติดตามการปฏิบัติตามกฏหมาย นอกจากนี้ ไออาร์พีซี จัดทำการวิเคราะห์ความสำคัญของคู่ค้า เพื่อให้สามารถระบุคู่ค้าที่สำคัญต่อธุรกิจของไออาร์พีซี โดยมีหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ดังนี้
นอกจากนี้ การบริหารความเสี่ยงด้านห่วงโซ่อุปทาน ยังครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกคู่ค้าและการบริหารความเสี่ยงของคู่ค้า ซึ่งคำนึงถึงผลกระทบในด้านคุณภาพของสินค้าและบริการ สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ ทั้งนี้หากคู่ค้าจะดำเนินธุรกิจร่วมกับไออาร์พีซี คู่ค้าจะต้องลงทะเบียนและผ่านขั้นตอนการอนุมัติล่วงหน้าและตอบแบบสอบถามประเมินตนเอง
เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการจัดซื้อและการเสริมสร้างระบบจัดซื้อที่ยั่งยืน ไออาร์พีซี จัดทำการประเมินความเสี่ยงของคู่ค้า ที่คำนึงถึงความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ สังคม และการกำกับดูแล (ESG) ซึ่งการประเมินดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นในการระบุความเสี่ยงต่อความยั่งยืนขององค์กรในกระบวนการจัดซื้อจัดหา อาทิ การใช้แรงงานเด็ก การใช้แรงงานบังคับ หรือการซื้อสารเคมีที่มีสารต้องห้าม โดยการประเมินความเสี่ยงจะพิจารณาจากโอกาสที่จะเกิดขึ้น (Likelihood) และความรุนแรงของผลกระทบ (impact) ต่อองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียโดยใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
ไออาร์พีซี ทำการวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่แท้จริง (Root Cause Analyses) และจัดเตรียมแผนการบรรเทาความเสี่ยงสำหรับคู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนสูง โดยมีฝ่ายจัดซื้อทำหน้าที่ติดตามการดำเนินของแผนการบรรเทาความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าแผนดังกล่าวมีประสิทธิภาพเพียงพอในการลดผลกระทบและโอกาสที่จะเกิดขึ้น ตลอดจนกำหนดให้สำนักงานตรวจสอบภายใน (Internal Audit Office) ทำการประเมินอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งผลลัพธ์จากการติดตามแผนการดังกล่าวจะนำเสนอต่อผู้บริหารรายไตรมาส
นอกเหนือจากการประเมินความเสี่ยงที่ได้ระบุไว้ ไออาร์พีซี ได้จัดตั้งนโยบายเพื่อส่งเสริมให้คู่ค้าปฏิบัติตามหลักการพัฒนายั่งยืนของไออาร์พีซี เพื่อบริหารความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติที่ผิดของคู่ค้าต่อไออาร์พีซี โดยหลักการดังกล่าวประกอบด้วยหลักสิทธิมนุษยชน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย จรรยาบรรณทางธุรกิจ และการต่อต้านการคอร์รัปชัน1 ทั้งนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าคู่ค้ารวมถึงผู้รับเหมาปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ไออาร์พีซี จึงกำหนดให้การประเมินคู่ค้าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดซื้อ ซึ่งกำหนดให้คู่ค้าประเมินศักยภาพของตนเองและตอบแบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับประเด็นต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น
หมายเหตุ: ในปี 2563 ไออาร์พีซีไม่พบกรณีที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ ไออาร์พีซีเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) ซึ่งมีการกำหนดให้รายงานกรณีที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชัน ในปี 2563 ไออาร์พีซีไม่พบกรณีที่ปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า (Anti-Competitive Practices) จาก 1) ช่องทางและระบบการร้องเรียน 2) การส่งความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ 3) Annual Reputation Survey
ในปี 2563 16 คู่ค้า (ร้อยละ 1 ของคู่ค้า) ได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการคอร์รัปชัน โดย 16 คู่ค้าที่สำคัญ (ร้อยละ 27 ของคู่ค้าที่สำคัญ) และ 16 คู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูง (ร้อยละ 27 ของคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูง) ได้รับการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบของไออาร์พีซี (IRPC’s certified auditors) และผู้ตรวจสอบภายนอกจากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (Management System Certification Institute (Thailand); MASCI) โดยมีหัวข้อในการประเมินดังนี้
ทั้งนี้ ไออาร์พีซี ได้เตรียมแผนการดำเนินการแก้ไขร่วมกับคู่ค้าที่ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของไออาร์พีซี โดยเฉพาะผลลัพธ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในประเด็นด้านความปลอดภัยของผู้รับเหมา ไออาร์พีซีจึงดำเนินการแจ้งทันทีพร้อมกับวางแผนการแก้ไขเพื่อป้องกันการเกิดเหตุซ้ำและพัฒนาการดำเนินงานในอนาคต โดยได้สรุปแผนการแก้ไขให้กับผู้ถูกตรวจสอบที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมดเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาผลการดำเนินงานด้าน ESG นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ยังให้ข้อแนะนำแก่คู่ค้าที่ผ่านการตรวจสอบเพื่อพัฒนาการดำเนินงานด้าน ESG อย่างต่อเนื่อง
คู่ค้ารายใหม่และคู่ค้าปัจจุบันจะต้องผ่านการประเมินเพื่อถูกคัดเลือกให้อยู่ในรายชื่อคู่ค้า (Approved Vendor List) ของไออาร์พีซี โดยมีการประเมินประเด็นด้าน ESG 5 ประเด็น ดังนี้
ในการประเมินคู่ค้า คู่ค้าจะต้องได้รับคะแนนรวมอย่างน้อยร้อยละ 70 เพื่อผ่านการประเมิน โดยร้อยละ 25 ของการประเมินจะถูกแบ่งออกเป็นประเด็น ESG ที่กล่าวไว้ข้างต้น
สรุปผลการดำเนินการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย ในปี 2563
ปี |
2559 |
2560 |
2561 |
2562 |
2563 |
ค่าใช้จ่ายการจัดซื้อ (พันล้านบาท) |
132.72 |
151.49 |
204.53 |
164.41 |
134.25 |
ปี |
2559 |
2560 |
2561 |
2562 |
2563 |
ร้อยละ ค่าใช้จ่ายในท้องถิ่นจากค่าใช้จ่ายจัดซื้อทั้งหมด |
28% |
22% |
19% |
21% |
18% |
อื่น ๆ |
ยุโรป |
อเมริกาเหนือ |
เอเชีย |
|
ค่าจัดซื้อตามภูมิภาค (พันล้านบาท) |
0 |
0.4 |
0.23 |
10.12 |
ปี |
2559 |
2560 |
2561 |
2562 |
2563 |
จำนวนการจัดซื้อจัดหาทั้งหมด |
2071 |
2140 |
2166 |
2043 |
1998 |
จำนวนคู่ค้าหลักที่มีความสำคัญ (Critical Tier 1 Supplier) ทั้งหมด |
96 |
95 |
117 |
65 |
59 |
จำนวนคู่ค้ารองที่มีความสำคัญ (Critical Non–tier 1 Supplier) ทั้งหมด |
2 |
2 |
2 |
2 |
2 |
หมายเหตุ: การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย (Spend Analysis) ถูกวิเคราะห์จากค่าใช้จ่ายทั้งหมดกับจำนวนคู่ค้าทั้งหมด
2560 |
2561 |
2561 |
2563 |
|
อัตราการบาดเจ็บทางขนส่ง (เวลาต่อ 1 ล้าน กม.) |
0.07 |
0 |
0 |
0 |
คู่ค้าและผู้รับเหมาที่สำคัญที่ผ่านการประเมินความยั่งยืน (ร้อยละ) |
100% |
100% |
100% |
100% |
มูลค่าการจัดซื้อจัดหาในท้องถิ่น (จังหวัดระยอง) สำหรับการจัดซื้อจัดหาทั่วไป (General Procurement)(ร้อยละ) |
22% |
19% |
21% |
18% |
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถเลือกตั้งคำยินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “การตั้งค่าคุกกี้” การตั้งค่าคุกกี้