IRPC One Report TH

3) เพิ่มความเข้มงวดในการเข้าออกที่ทำ �งานหรือสถานประกอบการ โดยมีการคัดกรองพนักงานหรือบุคคลภายนอก ก่อนเข้าสถาน ประกอบการจะต้องมีการตรวจวัดอุณหภูมิและสวมหน้ากาก อนามัยทุกครั้ง นอกจากนี้ จะต้องปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ที่หน่วยงานรัฐกำ �หนดอย่างเคร่งครัด 4) กำ �หนดแนวทางแก้ไขกรณีพบพนักงานต้องสงสัยหรือป่วยด้วย โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมีการกักกัน คัดแยกกลุ่มพนักงาน ที่ต้องสงสัยอย่างเป็นระบบ จัดทำ �แผนรองรับเพื่อไม่ให้กระทบ ต่อการปฏิบัติงานที่สำ �คัญต่างๆ ของบริษัทฯ 5) จัดหาวัคซีนให้กับพนักงาน และใช้สถานที่ของบริษัทฯ ให้เป็นที่ รองรับในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนที่อยู่รอบเขตประกอบการ อุตสาหกรรมไออาร์พีซี 6) จัดทำ �แผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP) สำ �หรับกรณีโรคติดเชื้อร้ายแรง และ ให้มีการฝึกซ้อม พัฒนา ปรับปรุง อย่างสม่ำ �เสมอ เพื่อให้มั่นใจ ได้ว่าการดำ �เนินธุรกิจของบริษัทฯ ยังคงสามารถดำ �เนินการได้ อย่างต่อเนื่อง ความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ในอนาคต บริษัทฯ ได้มีการวิเคราะห์บริบทต่างๆ จากปัจจัยภายนอกที่มีแนวโน้ม ต่างๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงในอนาคตและอาจส่งผลกระทบกับบริษัทฯ ในระยะยาวช่วงประมาณ 5-10 ปีข้างหน้า เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม กฎหมาย เทคโนโลยี เป็นต้น เพื่อเตรียมการ รับมือและแสวงหาโอกาสในการดำ �เนินธุรกิจให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงในอนาคต แนวทางการบริหารความเสี่ยง 1) ความเสี่ยงจากการที่ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนการใช้รถยนต์ที่ใช้ น้ำ �มันมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้า มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่ดีขึ้น ราคาจำ �หน่ายที่ถูกลง รวมถึงรัฐบาลมีการส่งเสริมการใช้งาน รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อบริษัทฯ ทำ �ให้ ยอดการจำ �หน่ายน้ำ �มันและน้ำ �มันหล่อลื่นมีแนวโน้มลดลง ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้จัดทำ �แนวทางการจัดการในระยะยาว โดยกำ �หนดกลยุทธ์ในปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็น ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีให้มีมูลค่าสูงสุด มีการศึกษาที่จะนำ �แนฟทา และสารอะโรเมติกส์ซึ่งเป็นองค์ประกอบของน้ำ �มันเบนซิน มาปรับปรุงสภาพเป็นสารพาราไซลีน (Paraxylene) หรือสารอื่นๆ ที่จะเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ 2) ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Risk) ปัจจุบันปัญหาภัยธรรมชาติเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง และมีความรุนแรงมากขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากกิจกรรมของมนุษย์ในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ออกสู่บรรยากาศ ซึ่งในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (The 26th UN Climate Change Conference of the Parties: COP26) ประเทศไทย ตั้งเป้าหมาย ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 และปล่อยก๊าซเรือนกระจก สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายใน หรือก่อนปี 2608 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ บริษัทฯ จึงได้วางแนวทางเพื่อป้องกันและ ลดผลกระทบจากความเสี่ยง ดังกล่าว โดยมีการศึกษาการประยุกต์ใช้ราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) ในการประเมินความคุ้มค่าของโครงการ ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต กำ �หนดมาตรการลดความเข้มข้น ของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพ ในการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตซึ่งจะช่วยลดการเผาไหม้ เชื้อเพลิง การจัดทำ �คาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร โดยนำ �ร่อง ประเมินภาคสมัครใจตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ ขององค์กร (Carbon Footprint Organization: CFO) ร่วมกับ กรมโรงงานอุตสาหกรรมและองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) โครงการใช้โซลาร์เซลล์ในการผลิตไฟฟ้า เป็นต้น การบริหารจัดการความเสี่ยง บริษัท ไออาร์พีซี จ� ำกัด (มหาชน) 107

RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=