Skip to main content

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

แนวทางการบริหารจัดการ
เอกสารดาวน์โหลด
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของไออาร์พีซีดาวน์โหลด
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของไออาร์พีซีดาวน์โหลด

โครงสร้างคณะกรรมการบริษัทฯ

คณะกรรมการบริษัทฯ ต้องประกอบด้วยคณะกรรมการที่มีความรู้และประสบการณ์ที่สอดคล้องกับธุรกิจของไออาร์พีซี และจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ตามความรับผิดชอบ ด้วยเหตุนี้ ไออาร์พีซีจึงกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการและคุณสมบัติที่สำคัญ ตลอดจนระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ดังนี้

  • คณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 5-15 คน
  • มีกรรมการอิสระอย่างน้อยหนึ่งในสามของคณะกรรมการบริษัทฯ หรืออย่างน้อย 3 คน
  • กรรมการต้องมีอายุไม่เกิน 70 ปี
  • กรรมการสามารถดำรงตำแหน่งได้สูงสุด 3 วาระ (หรือสูงสุด 9 ปี)

สำหรับคุณสมบัติของกรรมการอิสระ จะถูกกำหนดให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อาทิ ไม่มีบทบาทเกี่ยวข้องในการบริหารบริษัทฯ และบริษัทในเครือ ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือทางกฎหมายกับกรรมการท่านอื่น ไม่มีความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ และไม่ใช่ผู้ตรวจสอบของบริษัท นอกจากนี้ ไออาร์พีซียังกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อความรัดกุมยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้กรรมการอิสระถือหุ้นบริษัทไม่เกินร้อยละ 0.5 ของหุ้นที่มีสิทธิในการออกเสียงลงคะแนน (Voting Rights) เมื่อเทียบกับเกณฑ์ของ ก.ล.ต. ที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 1

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างคณะกรรมการบริษัทฯ สามารถศึกษาได้จาก [คณะกรรมการบริษัท]

คณะกรรมการชุดย่อย

คณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วยคณะกรรมการชุดย่อย 4 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ซึ่งทำหน้าที่ดูแลการดำเนินงานที่สำคัญในแต่ละด้านขององค์กร

  • คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน ทำหน้าที่กำหนดแผนงานและติดตามผลการดำเนินงานประจำปีขององค์กร เพื่อให้มีการดำเนินการที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีและด้านความยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมถึงภารกิจด้านการพัฒนาการกำกับดูแลกิจการ สิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อสังคม
  • คณะกรรมการตรวจสอบ ทำหน้าที่ตรวจสอบการรายงานทางการเงินของไออาร์พีซีและบริษัทในเครือ รวมถึงตรวจสอบระบบการควบคุมภายใน ระบบตรวจสอบภายใน และระบบบริหารความเสี่ยง รวมถึงให้คำแนะนำใน
    การปรับปรุงระบบควบคุมภายในให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ทำหน้าที่พิจารณาคุณสมบัติของบุคคลที่จะมาเป็นคณะกรรมการบริษัทฯ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยกำหนดขั้นตอนและหลักเกณฑ์ในการสรรหาที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส เพื่อให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการบริษัทฯ ที่มีความหลากหลายทั้งในด้านความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ นอกจากนี้ คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ยังมีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการจ่ายค่าตอบแทนของกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่
  • คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ทำหน้าที่กำกับดูแลการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กร ซึ่งมีคณะกรรมการบริษัทฯ ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และคณะกรรมการตรวจสอบทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบาย ทั้งนี้ คณะกรรมการต่าง ๆ มีการประเมินความเสี่ยงซึ่งครอบคลุมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น (ทั้งภายในและภายนอกองค์กร และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่) และรายงานความเสี่ยงให้แก่คณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อการตรวจสอบและทบทวน

กรรมการอิสระ

ตามหลักเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการที่ดีของไออาร์พีซี หนึ่งในสามของคณะกรรมการบริษัทฯ จะต้องประกอบด้วยกรรมการอิสระ ที่มีวาระดำรงตำแหน่งได้คราวละ 3 ปี โดยกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระสามารถได้รับเลือกอีกครั้งโดยผู้ถือหุ้น อย่างไรก็ตาม สามารถดำรงตำแหน่งได้สูงสุด 3 วาระติดต่อกัน (หรือสูงสุด 9 ปี) โดยไม่มีข้อยกเว้น ทั้งนี้ คณะกรรมการอิสระจะต้องมีคุณสมบัติตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนและข้อกำหนดของคณะกรรมการบริษัทฯ นอกจากนี้
ไออาร์พีซียังกำหนดให้กรรมการอิสระถือหุ้นบริษัทฯ ได้ไม่เกินร้อยละ 0.5 ของหุ้นที่ออกจำหน่าย ซึ่งเคร่งครัดกว่าข้อกำหนดของกับข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 1

ไออาร์พีซีได้กำหนดนิยามของกรรมการอิสระไว้ในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและบนเว็บไซต์ของบริษัทฯ นอกจากนี้คณะกรรมการอิสระมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นระหว่างประชุมได้อย่างเป็นอิสระ โดยจะต้องเข้าประชุมอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการเงินและธุรกิจขององค์กร เพื่อที่จะสามารถแสดงความคิดเห็นได้เป็นอย่างอิสระเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนการป้องกันให้ไม่ให้เกิดการขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างไออาร์พีซีกับผู้บริหาร กรรมการผู้มีอำนาจ และผู้ถือหุ้นรายใหญ่

ทั้งนี้ บริษัทฯ มุ่งที่จะกำหนดคุณสมบัติของกรรมการอิสระที่สอดคล้องหรือเข้มงวดกว่าข้อกำหนดของ ก.ล.ต. และเกณฑ์การประเมินของดัชนี Dow Jones Sustainability Index (DJSI)

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติของกรรมการอิสระ สามารถศึกษาได้จาก [เอกสารคำประกาศเกี่ยวกับคณะกรรมการอิสระ]

ประธานกรรมการ

เพื่อให้การกำกับดูแลกิจการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันการใช้อำนาจโดยมิชอบ ไออาร์พีซีจึงกำหนดให้ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นคนละบุคคลกัน โดยกำหนดบทบาทความรับผิดชอบหลักของประธานกรรมการคือการเป็นผู้นำและให้คำแนะนำแก่คณะกรรมการบริษัทฯ ด้วยการส่งเสริมและกำกับดูแลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริษัทฯ และการดำเนินงานบริษัทฯ ในภาพรวมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมาตรฐานสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำประชุมหารือที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเรื่องข้อเสนอโครงการ (Proposals) โดยคณะผู้บริหาร

กรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้บริหาร

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มอบหมายให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ในฐานะหัวหน้าสูงสุดของฝ่ายจัดการ เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการงานของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และนโยบายที่คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนดไว้

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเกณฑ์การสรรหาและคัดเลือกประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก [เกี่ยวกับเกณฑ์การสรรหาและคัดเลือกประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่]

การสรรหาและแต่งตั้งกรรมการบริษัทฯ

การแต่งตั้งคณะกรรมการเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ โดยคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนจะพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เพื่อเสนอชื่อให้คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณา จากนั้นคณะกรรมการบริษัทฯ จะนำเสนอรายชื่อผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่ออนุมัติการแต่งตั้ง ทั้งนี้ ในกรณีที่กรรมการบริษัทฯ ลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ คณะกรรมการบริษัทฯ จะทำหน้าที่แต่งตั้งกรรมการใหม่จากการเสนอชื่อของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

สำหรับเกณฑ์การเสนอชื่อบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ จะพิจารณาจากความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของไออาร์พีซี รวมถึงความสอดคล้องกับตารางทักษะและประสบการณ์ (Board Skills Matrix) ตลอดจนความหลากหลายของคณะกรรมการบริษัทฯ ทั้งในด้านเพศ อายุ เชื้อชาติ สัญชาติ ความเชี่ยวชาญ ทักษะและ ประสบการณ์ และความรู้ความสามารถ นอกจากนี้ กระบวนการสรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการของไออาร์พีซียังรวมถึง
การตรวจสอบคุณสมบัติทางกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และการอุทิศตนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการ

ในส่วนของการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย จะพิจารณาจากความรู้ความสามารถในด้านที่เกี่ยวข้อง เกณฑ์การดำรงตำแหน่ง ตารางทักษะประสบการณ์และความหลากหลาย รวมถึงคุณสมบัติความเป็นอิสระของกรรมการ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ สำหรับการอนุมัติ

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาและแต่งตั้งการสรรหาและแต่งตั้งกรรมการบริษัทฯ สามารถศึกษาได้จาก

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาและแต่งตั้งการสรรหาและแต่งตั้งกรรมการบริษัทฯดาวน์โหลด

นโยบายด้านความหลากหลายของคณะกรรมการบริษัทฯ (Board Diversity Encouragement)

ไออาร์พีซีส่งเสริมส่งเสริมความหลากหลายและความสมดุลของคณะกรรมการบริษัทฯ อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงความหลากหลายด้านทักษะ ความสามารถ ประสบการณ์ เชื้อชาติ และเพศ ด้วยเหตุนี้ บริษัทฯ จึงกำหนดนโยบายความหลากหลายในกระบวนการแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อสร้างความมั่นใจถึงกระบวนการที่โปร่งใสและสอดคล้องกับนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ โดยนโยบายดังกล่าวกำหนดให้คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนดำเนินการสรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสม เพื่อทดแทนตำแหน่งกรรมการบริษัทที่ว่างลง โดยพิจารณาจากภูมิหลังและประสบการณ์ โดยเฉพาะความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือใกล้เคียงกับธุรกิจของไออาร์พีซี ควบคู่ไปกับการคำนึงถึงองค์ประกอบด้านความหลากหลายภายในคณะกรรมการบริษัทฯ อย่างเหมาะสม

นโยบายด้านความหลากหลายของคณะกรรมการบริษัทฯ สามารถศึกษาได้จากนโยบายการกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการที่มีความหลากหลายดาวน์โหลด
นโยบายด้านความหลากหลายของพนักงาน สามารถศึกษาได้จากนโยบายด้านความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่างดาวน์โหลด

ประสบการณ์ของคณะกรรมการบริษัทฯ (Board Industry Experience)

คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของไออาร์พีซีกำหนดให้คณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมีอย่างน้อย 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอย่างน้อย 1 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินหรือบัญชีอย่างน้อย 1 คน โดยจะต้องคำนึงถึงวุฒิการศึกษา ทักษะการบริหาร และความสำเร็จและการยอมรับในระดับธุรกิจที่เทียบเคียงได้ ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวถูกกำหนดไว้ในนโยบายการแต่งตั้งกรรมการ

รายละเอียดเกี่ยวกับประสบการณ์ของคณะกรรมการบริษัทฯ สามารถศึกษาได้จากเอกสารองค์ประกอบและคุณสมบัติ (Skills Matrix) ของคณะกรรมการบริษัทฯ จากรายงาน Performance Summary

ประสิทธิภาพของคณะกรรมการบริษัทฯ และการกำหนดค่าตอบแทน (Board Effectiveness and Compensation)

ไออาร์พีซีกำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการเป็นประจำทุกปี ซึ่งประกอบด้วย การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดย่อย และกรรมการรายบุคคล เพื่อทบทวนผลการดำเนินงาน ความท้าทาย และความสำเร็จอย่างครอบคลุมตลอดปีที่ผ่านมา โดยวิธีการประเมินด้วยตนเอง (Self-Evaluation) และวิธีการประเมินแบบไขว้ (Cross-Evaluation) รวมถึงกำหนดให้มีการประเมินโดยผู้ประเมินอิสระจากภายนอก (Independent Assessment) ทุก ๆ 3 ปี และรายงานผลการประเมินดังกล่าวต่อคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืนและเปิดเผยในรายงานประจำปีของบริษัทฯ โดยผลการประเมินจะถูกนำไปใช้สำหรับการพัฒนาผลการปฏิบัติงานในอนาคต นอกจากนี้ ไออาร์พีซียังสนับสนุนให้กรรมการและผู้บริหารเข้าอบรมหลักสูตรที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อเพิ่มพูนทักษะและติดตามแนวโน้มของอุตสาหกรรม อันจะช่วยให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการและผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ สามารถศึกษาได้จากรายงานประจำปีของบริษัทฯ

คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนมีหน้าที่พิจารณาค่าตอบแทนคณะกรรมการ เสนอแนะต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติ และเสนอจำนวนค่าตอบแทนต่อที่ประชุมสามัญประจำปีเพื่อขออนุมัติจากผู้ถือหุ้น โดยมุ่งเน้นกระบวนการที่โปร่งใสตามแนวปฏิบัติที่ดีในการกำหนดค่าตอบแทน (Compensation Best Practices) จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ทั้งนี้ ค่าตอบแทนของกรรมการบริษัทฯ จะเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ของบริษัทฯ ในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้มั่นใจว่าค่าตอบแทนนั้นมีความเหมาะสมกับขนาดและความซับซ้อนของธุรกิจไออาร์พีซี

ตัวชี้วัดความสำเร็จสำหรับค่าตอบแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดให้กรรมการผู้จัดการใหญ่ของไออาร์พีซีส่งรายงานประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีซึ่งตรวจประเมินโดยคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในการพิจารณาค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทั้งนี้ ผลการประเมินดังกล่าวถือเป็นข้อมูลส่วนตัวที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ สำหรับเกณฑ์การประเมินนั้นจะถูกกำหนดตามกลยุทธ์องค์กรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และวัดผลการดำเนินงานทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน ตลอดจนผลงานด้านการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยกรรมการผู้จัดการใหญ่จะทำหน้าที่บริหารจัดการธุรกิจและการบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัด 2 ประเภท ได้แก่ 1) เป้าหมายตัวชี้วัดองค์กร (Corporate KPI) (ร้อยละ 70 ของการประเมิน) และ 2) องค์ประกอบสำคัญอื่นๆ ที่ส่งเสริมความโปร่งใสและความยั่งยืนขององค์กร (ร้อยละ 30 ของการประเมิน) ซึ่งรวมถึงความสามารถในการเป็นผู้นำองค์กรและการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อไออาร์พีซีและผู้มีส่วนได้เสียอย่างทันท่วงที เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างภาพลักษณ์และการกำกับดูแลกิจการที่ดี ทั้งนี้ รายละเอียดเกณฑ์การประเมินกรรมการผู้จัดการใหญ่มีดังต่อไปนี้

เป้าหมายตัวชี้วัดองค์กร (Corporate KPI)
ปัจจัยด้านการเติบโตอย่างยั่งยืน (30%)
  • มุมมองทางการเงิน: EBITDA
  • มุมมองของผู้มีส่วนได้เสีย: ความพึงพอใจของลูกค้า ความพึงพอใจของชุมชน ความผูกพันของพนักงาน การประเมินความยั่งยืนของ DJSI การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • มุมมองกระบวนการภายใน: ความเป็นเลิศในการดำเนินงาน ความยืดหยุ่นของกระบวนการกลั่น ร้อยละของผลิตภัณฑ์พิเศษ การเสริมสร้างโครงการปัจจุบันและโครงการใหม่
  • มุมมองการเรียนรู้และการเติบโต: การบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
  • ความเป็นผู้นำ
  • การประเมินโดยคณะกรรมการบริษัทฯ
  • ความสามารถในการบริหารจัดการ/การจัดการภาวะวิกฤติที่โดดเด่น

 

การปรับเงินเดือนและโบนัสประจำปีของกรรมการผู้จัดการใหญ่ขึ้นอยู่กับผลการประเมินการดำเนินงานและการอนุมัติของคณะกรรมการบริษัทฯ นอกเหนือจากเป้าหมายที่ท้าทายดังกล่าว เกณฑ์การประเมินต่าง ๆ ถูกกำหนดให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ ความรับผิดชอบขององค์กรต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม และ Balanced Scorecard ทั้งนี้ ค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการใหญ่ไออาร์พีซีนั้น สามารถเทียบเคียงได้กับค่าตอบแทนของอุตสาหกรรมเดียวกันหรืออุตสาหกรรมใกล้เคียง

นอกจากนี้ ไออาร์พีซียังเปรียบเทียบผลการประเมินการดำเนินงานของบริษัทฯ กับบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยเฉพาะตัวชี้วัดด้านการเงิน เพื่อประเมินค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการใหญ่เทียบกับผลการดำเนินงานทางการเงินขององค์กร โดยคำนวณตัวชี้วัดด้านการเงินของไออาร์พีซีและบริษัทที่ใกล้เคียงในช่วงระยะเวลา 3 ปี และเปรียบเทียบระดับค่าเฉลี่ยผลการดำเนินงานแบบถ่วงน้ำหนักกับระดับผลตอบแทนค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการใหญ่ และค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน ทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลการดำเนินงานทางการเงินเชิงเปรียบเทียบของบริษัทฯ

ผู้บริหารระดับ 1 (Executive Level 1)
ค่าตอบแทน (ล้านบาท)
ค่าตอบแทน
เงินเดือน
โบนัส
ค่าตอบแทนอื่นๆ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
รวม
ค่าตอบแทน (บาท)
2563
2564
2565
2565
ค่าตอบแทนประจำปีของกรรมการผู้จัดการใหญ่
ค่ามัธยฐานของค่าตอบแทนประจำปีของพนักงานทั้งหมด ยกเว้นกรรมการผู้จัดการใหญ่
ค่าเฉลี่ยของค่าตอบแทนประจำปีของพนักงานทั้งหมด ยกเว้นกรรมการผู้จัดการใหญ่
อัตราส่วนระหว่างค่ามัธยฐานของค่าตอบแทนพนักงานและค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการใหญ่
อัตราส่วนระหว่างค่าเฉลี่ยของค่าตอบแทนพนักงานและค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการใหญ่