มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่ดีขึ้น ราคาจำาหน่ายที่ถูกลง รวมถึงรัฐบาลมีการส่งเสริมการใช้งาน รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อบริษัทฯ ทำให้ยอดการจำาหน่ายน้ำมันและน้ำามันหล่อลื่นมีแนวโน้มลดลง ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้จัดทำาแนวทางการจัดการในระยะยาว โดยกำาหนดกลยุทธ์ในปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็น ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีให้มีมูลค่าสูงสุด มีการศึกษาที่จะนำาแนฟทา และสารอะโรเมติกส์ซึ่งเป็นองค์ประกอบของน้ำามันเบนซิน มาปรับปรุงสภาพเป็นสารพาราไซลีน (Paraxylene) หรือสารอื่นๆ ที่จะเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์
บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญในการบริหารความเสี่ยงเชิงบูรณาการ เพื่อให้องค์กรมีพัฒนาการและก้าวหน้าอย่างมั่นคง
หยุดยั้งและลดความเสียหายจากสภาวะแวดล้อมและภัยคุกคามต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น อันจะส่งผลกระทบต่อบุคลากร ทรัพย์สิน การดำเนินธุรกิจ รวมทั้งภาพลักษณ์ขององค์กร
บริษัทฯ จึงประกาศนโยบาย ให้ผู้บริหารและพนักงานต้องตระหนักถึงความเสี่ยง การให้ความร่วมมือและส่งเสริมการพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์กร มีการกำหนดกระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างชัดเจน รวมถึงระดับความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ และกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติงาน และการดำเนินกิจกรรมโดยปกติของทุกหน่วยงาน มีมาตรการติดตามประเมินผลการบริหารความเสี่ยง ทบทวน ปรับปรุง และพัฒนากระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้มีการสอบทานนโยบายการบริหารความเสี่ยงเป็นประจำทุกปี เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการและนโยบายดังกล่าวมีความเหมาะสมและสามารถตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ในการดำเนินธุรกิจที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ บริษัทฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร โดยมีการรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบเป็นประจำทุกไตรมาส
โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงของไออาร์พีซี ประกอบด้วย คณะกรรมการบริษัทฯ (Board of Directors) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee (RMC)) คณะกรรมการขับเคลื่อนงานบริหารความเสี่ยง (Risk Management Steering Committee (RMSC)) และส่วนบริหารความเสี่ยงองค์กร (Risk Management Division)
ความเสี่ยงใหม่และมาตรการจัดการ
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ปัจจุบันปัญหาภัยธรรมชาติเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง และมีความรุนแรงมากขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากกิจกรรมของมนุษย์ในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศ ซึ่งในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (The 26th UN Climate Change Conference of the Parties: COP26) ประเทศไทย ตั้งเป้าหมาย ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 และปล่อยก๊าซเรือนกระจก สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายใน หรือก่อนปี 2608 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ บริษัทฯ จึงได้วางแนวทางเพื่อป้องกันและ ลดผลกระทบจากความเสี่ยง ดังกล่าว โดยมีการศึกษาการประยุกต์ใช้ราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) ในการประเมินความคุ้มค่าของโครงการ ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต กำหนดมาตรการลดความเข้มข้น ของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพ ในการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตซึ่งจะช่วยลดการเผาไหม้ เชื้อเพลิง การจัดทำาคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร โดยนำาร่อง ประเมินภาคสมัครใจตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ ขององค์กร (Carbon Footprint Organization: CFO) ร่วมกับ กรมโรงงานอุตสาหกรรมและองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) โครงการใช้โซลาร์เซลล์ในการผลิตไฟฟ้า เป็นต้น