Skip to main content

การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ

แนวทางการบริหารจัดการ
เอกสารดาวน์โหลด
นโยบายความหลากหลายทางชีวภาพดาวน์โหลด
นโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดาวน์โหลด
นโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และการจัดการพลังงานดาวน์โหลด
การดำเนินงานที่สำคัญ
เอกสารดาวน์โหลด
การประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (IRPC Biodiversity Risk Assessment Method)ดาวน์โหลด

IRPC ร่วมกับกลุ่ม ปตท. ดำเนินโครงการปลูกป่า เพื่อเป็นผู้นำขับเคลื่อนประเทศสู่ Net Zero

ไออาร์พีซี ร่วมกับบริษัทในกลุ่ม ปตท. ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ โครงการพัฒนาพื้นที่ปลูก บำรุงรักษา และระบบนิเวศป่าไม้ กับกรมป่าไม้ โครงการพัฒนาพื้นที่ปลูก บำรุงรักษา และระบบนิเวศป่าไม้ กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และโครงการปลูกและบำรุงรักษาป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยมีเป้าหมายเพื่อบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ผ่านการปลูกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และแหล่งกักเก็บคาร์บอน จำนวน 2 ล้านไร่ โดยแบ่งเป็น ปตท. 1 ล้านไร่ และความร่วมมือของบริษัท ในกลุ่ม ปตท. อีก 1 ล้านไร่ ภายในปี 2573

โครงการบริหารจัดการคาร์์บอนเครดิตในป่่าเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกับมููลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ

บริษัทฯ ร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงไปตรวจเยี่ยมโครงการคาร์บอนเครดิตจากป่าชุมชนเพื่อความยั่งยืนในพื้นที่ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ผู้เข้าร่วมโครงการได้ฟังสัมมนาจากผู้นำชุมชนและได้เรียนรู้ข้อมูลเชิงลึกจากประสบการณ์ในการจัดการกับพื้นป่าที่เป็นตัวอย่างในการศึกษาคาร์บอนเครดิตจากป่าชุมชน โดยบริษัทเข้าเยี่ยมชม ตรวจสอบกลไกลดก๊าซเรือนกระจกสำหรับโครงการ TVER อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการคาร์บอนเครดิตจากป่าชุมชนเพื่อความยั่งยืน บริษัทฯ ได้ร่วมตรวจสอบโครงการ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาประเมินร่วมกับชุมชน นอกจากนั้นบริษัทฯ ยังควบคุมดูแลกิจกรรมระหว่างการสำรวจสถานที่ในผืนป่าตัวอย่างในป่าชุมชนดังกล่าว จากเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่นและการดำเนินกิจการที่แน่วแน่ บริษัทฯ จึงประสบความสำเร็จอย่างสูงในปี 2566 ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของการอุทิศตนเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและก้าวไปสู่อนาคตที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์

  • เพิ่มพื้นที่ป่าจำนวน 20,000 ไร่ (ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566)
  • สามารถกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 35,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (คาดการณ์ขึ้นทะเบียน TVER ในปี พ.ศ. 2568)