ไออาร์พีซี ทบทวนประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนตามแนวปฏิบัติของ “คู่มือระเบียบวิธีการประเมินความเสี่ยง และผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน” (Human Rights Risks and Impact Assessment Methodology) ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจของไออาร์พีซี และบริษัทย่อย ธุรกิจที่ไออาร์พีซีมีอำนาจและไม่มีอำนาจควบคุมจัดการ และคู่ค้าหลัก (Critical Suppliers) ซึ่งครอบคลุมทุกพื้นที่ ทั้งพื้นที่เขตประกอบการฯ และพื้นที่ปฏิบัติการคลังน้ำมันทั้ง 5 แห่ง ได้แก่ คลังน้ำมันชุมพร คลังน้ำมันอยุธยา คลังน้ำมันพระประแดง คลังน้ำมันระยอง และคลังน้ำมันแม่กลอง รวมไปถึงการระบุความเสี่ยงจากโครงการลงทุนใหม่ที่เกิดขึ้นในปี 2564 ผ่านเวทีรับฟังความคิดเห็นความคิดเห็นของประชาชนที่ดำเนินการโดยบริษัทที่ปรึกษา โดยผลจากการประเมินความเสี่ยงทั้งหมดได้นำมาใช้ในการวิคราะห์ และกำหนดมาตรการลดผลกระทบ ฟื้นฟู และเยียวยา ทั้งนี้ในปี 2564 ไม่พบประเด็นความเสี่ยงในระดับสูง (Salient Issues) อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นความเสี่ยงที่อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ได้แก่ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในเขตประกอบการฯ ความปลอดภัยของชุมชนโดยรอบเขตประกอบการฯ การสร้างการมีส่วนร่วมกับคู่ค้า และการบริหารจัดการของเสีย ซึ่งไออาร์พีซี ยังมีมาตรการลดความเสี่ยง ควบคุมดูแล และให้ความสำคัญในการดำเนินการติดตามมาตรดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิพื้นฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์ ที่นับวันจะเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากองค์กรระดับสากลมากขึ้นตามลำดับ
ไออาร์พีซี ตระหนักถึงความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชน จากการที่ไออาร์พีซีเป็นองค์กรที่มีการดำเนินธุรกิจที่มีโอกาสอาจทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่าทั้งทางตรงและทางอ้อม กอรปกับข้อกำหนดด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มีความเข้มข้นมากขึ้น จึงทำให้ไออาร์พีซีต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านดังกล่าว และพร้อมที่จะมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน โดยยึดหลักการเคารพสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่าในการดำเนินธุรกิจของไออาร์พีซี จึงเป็นที่มาของอุดมการณ์ และแนวทางในการดำเนินกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนที่หลากหลายตลอดปี 2563
ไออาร์พีซี กำหนดกลยุทธ์และแผนงานด้านสิทธิมนุษยชน โดยมุ่งหวังให้ไม่เกิดข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินงานของไออาร์พีซี และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในโครงการด้านสิทธิมนุษยชน ตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) และแนวปฏิบัติสากลด้านสิทธิมนุษยชนที่มีความเกี่ยวข้องอื่น ๆ อาทิ ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) แนวปฏิบัติองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสำหรับบรรษัทข้ามชาติ (OECD Guidelines) ปฏิญญาองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เรื่องหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม (ICESC) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (ICERD) อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการกระทำหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (UNCAT) และ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (CRPD)
ในปี 2563 ไออาร์พีซี ยังได้ทบทวนนโยบายต่างๆ ของไออาร์พีซี และทำการปรับปรุงเพื่อให้สอดรับกับหลักการด้านสิทธิมนุษยชน ได้แก่ นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี นโยบายการเป็นบรรษัทพลเมืองโลกที่ดีตามแนวทาง UNGC นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
ในปี 2563 ไออาร์พีซีได้เสริมความเข้มแข็งของกลยุทธ์ ที่ช่วยผลักดันให้เกิดการดำเนินโครงการด้านสิทธิมนุษยชนอย่างมีนัยสำคัญ อาทิ การปรับปรุงนโยบายต่างๆ ของบริษัทให้สอดรับกับหลักการด้านสิทธิมนุษยชน การสร้างความตระหนักและความสำคัญในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนให้ผู้บริหารและพนักงาน และขยายผลไปยังกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ อันได้แก่ ชุมชน คนในท้องถิ่น สังคม คู่ธุรกิจ คู่ค้าทางธุรกิจในสายโซ่อุปทาน และบริษัทร่วมทุน (Joint Venture) การผลักดันการสร้างเครือข่ายภาคีด้านสิทธิมนุษยชนร่วมกับ GCNT โดยเข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนและแรงงาน GCNT เป็นต้น นอกจากนี้ ยังกำหนดผู้รับผิดชอบสำหรับกำหนดทิศทาง สนับสนุนนโยบายการจัดการประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจนทั่วทั้งองค์กร ส่งเสริมการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง พร้อมทั้งให้ขยายเครือข่ายความร่วมมือตลอดห่วงโซ่อุปทาน สร้างความตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชน เป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกระดับตั้งแต่ คณะกรรมการการกำกับดูแลกิจการที่ดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารระดับสูง และพนักงานทุกหน่วยในองค์กร เป็นต้น
กระบวนการการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน
ไออาร์พีซีกำหนดกลยุทธ์เพื่อทำให้เกิดกระบวนการที่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยยึดหลักการ 3 ด้านได้แก่ Protect, Respect และ Remedy บนพื้นฐานของการดำเนินงานด้านการสื่อสาร (Communication) การสร้างความตระหนัก (Awareness)
และการสร้างเครือข่ายภาคี (Networking)
Protect
การนำหลักการคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชน มาประยุกต์ใช้ในองค์กร โดยเน้นการกำกับดูแลผ่านนโยบายของไออาร์พีซี และบริษัทในเครือ โดยมีการสื่อสารนโยบายสิทธิมนุษยชนของไออาร์พีซี ไปยังบุคลากรทั่วทั้งองค์กรรวมทั้งบริษัทคู่ค้า คู่ธุรกิจ และบริษัทร่วมทุน (Joint Venture) พร้อมจัดทำคู่มือการบริหารจัดการสิทธิมนุษยชน (Human Rights Management System) และคู่มือการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Risk Assessment Guideline) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ด้านประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่กลุ่มผู้มีความรับผิดชอบ 4 กลุ่ม สำคัญ ได้แก่ คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร หน่วยงานผู้รับผิดชอบการดำเนินการด้านสิทธิมนุษชน และ พนักงาน เพื่อให้มีการดูแลผู้มีส่วนได้เสียให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม
นโยบายและคู่มือการปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชน
ไออาร์พีซี ยังคงมุ่งมั่นปฏิบัติตามกรอบนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของไออาร์พีซี และกลุ่มไออาร์พีซี ที่นำหลักการและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนในระดับสากล รวม 12 ฉบับ มาเป็นพื้นฐานของหลักปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมถึงการเคารพในสิทธิ แรงงาน สิทธิสตรี สิทธิเด็ก และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์รวมถึงเสรีภาพ และความเสมอภาคของผู้ที่ได้รับการรับรองหรือได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายไทยและกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อควบคุมและหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินงานของไออาร์พีซี ทั้งบริษัทย่อย คู่ธุรกิจ คู่ค้าธุรกิจ และบริษัทร่วมทุน ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่ แนวปฏิบัติว่าด้วยการดำเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ (UNGP) ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) แนวปฏิบัติองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสำหรับบรรษัทข้ามชาติ (OECD Guidelines) ปฏิญญาองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เรื่องหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม (ICESC) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (ICERD) อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการกระทำหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (UNCAT) และ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (CRPD)
ในปี 2563 ไออาร์พีซี ยังได้ทบทวนนโยบายต่างๆ ของไออาร์พีซี และทำการปรับปรุงเพื่อให้สอดรับกับหลักการด้านสิทธิมนุษยชน ได้แก่ นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี นโยบายการเป็นบรรษัทพลเมืองโลกที่ดีตามแนวทาง UNGC นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
นโยบายสิทธิมนุษยชน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ [นโยบายสิทธิมนุษยชน]
นโยบายส่งเสริมความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างในองค์กร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ [นโยบายความหลากหลาย]
Respect
การแสดงถึงการเคารพสิทธิมนุษยชน ไม่อดทนต่อการเลือกปฏิบัติ และยอมรับในความแตกต่าง ตลอดจนมุ่งมั่นป้องกันการคุกคามในทุกรูปแบบผ่านการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) และการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ซึ่งครอบคลุมถึงบริษัทย่อย บริษัทร่วมทุน (Joint Venture) โดยผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ พนักงาน สังคม คู่ธุรกิจ คู่ค้าทางธุรกิจในสายโซ่อุปทานของกลุ่มไออาร์พีซี อีกทั้ง คำนึงถึงกลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้หญิง เด็ก ชนพื้นเมือง แรงงานต่างด้าว แรงงานที่ว่าจ้างผ่านบุคคลที่สาม ชุมชน/คนในท้องถิ่นลูกค้า/ผู้บริโภค กลุ่มเพศทางเลือก (LGBQI+) ผู้พิการ หญิงตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุ ตามแนวปฏิบัติระดับสากลที่เป็นที่ยอมรับ
การประเมินความเสี่ยง และผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
ในกระบวนการทบทวนความเสี่ยงอย่างรอบด้านนั้น ไออาร์พีซี ได้กำหนดขอบเขตและประเด็นสำคัญ และดัชนีชี้วัดที่เกี่ยวข้องด้านสิทธิมนุษยชนกับองค์กร เพื่อใช้ในการติดตามและประเมินความสำเร็จของโครงการด้านสิทธิมนุษยชนตามขอบเขตที่ระบุไว้
รายงานผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน [รายงานผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน]
การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของพนักงาน
ไออาร์พีซี ให้ความสำคัญต่อการเคารพสิทธิมนุษยชนของพนักงาน และสร้างความตระหนักด้านสิทธิมนุษยชนผ่านการฝึกอบรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดโอกาสที่เท่าเทียม ปราศจากการเลือกปฏิบัติ อีกทั้งยังคงมุ่งเน้นการจัดสวัสดิการที่เป็นธรรมและเอื้อประโยชน์ต่อพนักงานในทุกรูปแบบทั้งด้านสวัสดิการและการดูแลสุขภาพ รวมถึงการกำหนดแนวทางการลดการมีอคติต่อหัวหน้างาน และความไม่เป็นธรรมระหว่างหัวหน้างานและลูกน้องผ่านการประเมิน 180 องศา นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ยังมุ่งมั่นส่งเสริมการเติบโตในหน้าที่การงานของพนักงานหญิง โดยสามารถติดตามการวัดผลจากสัดส่วนของผู้บริหารหญิงขององค์กรให้มีความต่อเนื่องทุกปีจากหัวข้อ การบริหารทรัพยากรบุคคล
การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทาน
ไออาร์พีซี สื่อสารนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมให้คู่ค้ารายหลักปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ไออาร์พีซีมีการประเมินผลการดำเนินงานของคู่ค้า คู่ธุรกิจในด้านการปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชนตามคู่มือการดำเนินงานจัดหาอย่างยั่งยืน ในหมวดจรรยาบรรณด้านสิทธิมนุษยชนและแรงงาน โดยในปี 2564 มีการกำหนดมาตรการตรวจสอบคุณสมบัติและอายุของผู้รับเหมาก่อนเข้าปฏิบัติงานภายในโรงงาน เพื่อเป็นการป้องกันการค้ามนุษย์ การจ้างแรงงานเด็กและแรงงานบังคับ การฝึกอบรม สร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน การจัดสัมมนาคู่ค้าด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) รวมถึงการประเมินตนเองโดยการตอบแบบสอบถาม ก่อนการตรวจประเมิน ณ พื้นที่ประกอบการของคู่ค้า (ESG Onsite Audit)
Remedy
การฟื้นฟูเยียวยากรณีเกิดเหตุการละเมิดสิทธิมนุษยชน ผ่านกระบวนการรับเรื่องร้องเรียน การตรวจสอบข้อร้องเรียน และการกำหนดมาตรการบรรเทาแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงมาตรการชดใช้เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นธรรม
กระบวนการจัดการข้อร้องเรียน
ไออาร์พีซีกำหนดช่องทางการร้องเรียน และกระบวนการจัดการข้อร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงมีการกำหนดผู้ที่รับผิดชอบในการจัดการเรื่องร้องเรียน ไปจนถึงการแจ้งผลการแก้ไขเหตุร้องเรียนไปยังผู้ร้องเรียน
ขั้นตอนการจัดการข้อร้องเรียน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ หัวข้อจริยธรรมและความโปร่งใส
โครงการที่ดำเนินงาน
เพื่อบรรลุเป้าหมาย การไม่มีข้อร้องเรียนกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในปี 2564 ไออาร์พีซี ดำเนินโครงการต่างๆ ร่วมกับชุมชนรอบเขตประกอบการฯ เนื่องจากเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกลุ่มเปราะบางที่อาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของไออาร์พีซีมากที่สุด ทั้งในส่วนของการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมด้านสุขภาพแก่ชุนชนโดยรอบเขตประกอบการ
ทั้งนี้ ในปี 2564 ไออาร์พีซี ไม่มีข้อร้องเรียนกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
การเป็นองค์กรต้นแบบ และการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความตระหนัก (Awareness) และสร้างเครือข่าย (Networking) ด้านสิทธิมนุษยชน
นอกเหนือจากแผนงานตามเป้าหมายการไม่มีข้อร้องเรียนกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนแล้วนั้น ไออาร์พีซี ยังมุ่งมั่นในการเป็นองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน โดยการใช้หลักการด้านสิทธิมนุษยชน ผนวกเข้าในการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยกำหนดให้มีการสื่อความกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ คู่ธุรกิจ คู่ค้าทางธุรกิจในสายโซ่อุปทาน ผู้รับเหมา และผู้รับเหมาช่วงทุกราย ให้มีการปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด รวมถึงมีการกำหนดมาตรการตรวจสอบคุณสมบัติและอายุของผู้รับเหมาก่อนเข้าปฏิบัติงานภายในโรงงาน เพื่อเป็นการป้องกันการค้ามนุษย์ การจ้างแรงงานเด็ก และแรงงานบังคับ เป็นต้น
นอกเหนือจากการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนภายใต้กิจกรรมธุรกิจของไออาร์พีซีแล้ว ไออาร์พีซี ยังดำเนินโครงการที่เสริมสร้างเครือข่ายในการดำเนินกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ โดยมีส่วนร่วมทั้งในระดับประเทศและสากล
รางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำ ปี 2563 (Human Rights Awards)
ไออาร์พีซี ได้รับรางวัลชนะเลิศองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี พ.ศ. 2564 จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งจัดงานโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม โครงการองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ที่มีวัตถุประสงค์ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคธุรกิจทุกขนาด นำหลักการสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐานในการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานทุกระดับ เคารพสิทธิมนุษยชนซึ่งกันและกัน ป้องกันมิให้เกิดการละเมิดสิทธิต่อบุคลากรในหน่วยงาน ลูกค้า ผู้บริโภค ตลอดจนลดความเสี่ยงหรือข้อร้องเรียนอันเกิดจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยในปี 2564 ไออาร์พีซี ได้นำเสนอแนวทางการนำหลักสิทธิมนุษยชนมาผสมกับวัฒนธรรมองค์กรและบูรณาการร่วมกับกระบวนการทำงานในการผลิตสินค้า และบริการที่มีคุณภาพ สร้างคุณค่าร่วมให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ดี และการพัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ได้อย่างยั่งยืน