Skip to main content

นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน

นโยบาย

ไออาร์พีซี กำหนดกลยุทธ์การวิจัยและพัฒนา ปี 2560 – 2563 เพื่อส่งเสริมให้งานวิจัยขององค์กรอยู่ในระดับแนวหน้าของโลก และแข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยกลยุทธ์ดังกล่าวประกอบด้วย ปัจจัยที่สำคัญ ดังนี้

  • การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ (การเพิ่มผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษที่มีคุณภาพสูง และแข่งขันทางราคาได้)
  • การพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ (ต่อยอดธุรกิจตามการเปลี่ยนแปลงของโลก)
  • การใช้กระบวนการและเครื่องมือที่เหมาะสม (กระบวนการและเครื่องมือ และพัฒนาบุคลากรด้านงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์)

ภายใต้หลักการการสร้างความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมและการผลิต (Innovation and Operational Excellence IOE) ไออาร์พีซี มีวิสัยทัศน์ที่จะมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (IOE Moving Forward Together for the Excellence) ภายในปี 2568 ทั้งนี้ วิสัยทัศน์ดังกล่าวประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้

  • ขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Leverage): เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันผ่านการสร้างสรรค์นวัตกรรมและดิจิทัล เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้การควบคุมของศูนย์นวัตกรรมไออาร์พีซี
  • รักษามูลค่า (Protecting Value): ระบบปฏิบัติการที่เป็นเลิศ (Operational Excellence Management System: OEMS) มีวัตถุประสงค์หลักที่จะบริหารความปลอดภัย สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ความมั่นคงของสินทรัพย์ (Reliability & Asset Integrity): ความมั่นคงของสินทรัพย์เพื่อส่งเสริมการดำเนินงาน
  • บรรษัทพลเมืองโลก (Corporate Citizenship): ร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อดำเนินตามเป้าหมายอุุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

กระบวนการและระบบบริหารจัดการ

การสร้างสรรค์นวัตกรรมเป็นปัจจัยที่ขับเคลื่อนทิศทางความสำเร็จขององค์กร โดยทำให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ควบคู่ไปกับการพัฒนากระบวนการและองค์กร

กระบวนการนวัตกรรม (Innovation Procedure)

กระบวนการการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเริ่มจากความคิดสร้างสรรค์ที่รวบรวมจากพนักงานของไออาร์พีซี รวมถึงการร่วมมือกับนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกองค์กร แนวคิดเหล่านั้นจะได้รับการประเมินถึงโอกาสที่จะได้ประโยชน์และการพัฒนาแนวคิดเพื่อการพาณิชย์ในขั้นตอนต่อไป

นวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation)

การสร้างนวัตกรรมเป็นกระบวนการที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความรู้ ประสบการณ์ และการมีความคิดสร้างสรรค์ ไออาร์พีซี บริหารจัดการนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation Management) ผ่านแผนแม่บทผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี (Product & Technology Roadmap) โดยมุ่งเน้นการสรรหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อนำมากำหนด Portfolio ของผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางนวัตกรรมแบบเปิด โดยการร่วมวิจัยกับองค์กรชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) รวมถึงลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี

ไออาร์พีซี บริหารจัดการผลิตภัณฑ์ในกลุ่มธุรกิจ New S-Curve ผ่านการดำเนินงานด้านนวัตกรรมแบบเปิด และนำความรู้ของบุคลากรมาต่อยอดทางธุรกิจ ทั้งนี้ กลยุทธ์ New S-Curve ถูกกำหนดเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจในระยะยาว และนวัตกรรมแบบเปิดและเทคโนโลยีเน้นที่จะตอบโจทย์การเติบโตของธุรกิจในระยะสั้นถึงกลาง

นวัตกรรมผลิตภัณฑ์
ไออาร์พีซี ให้ความสำคัญกับการวิจัยพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ โดยได้มีการร่วมมือกับสายงานการตลาด วิศวกรรมการผลิต และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่า ไออาร์พีซี ได้พัฒนาระบบวิจัยเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยได้เพิ่มนักวิจัยที่มีความสามารถ เพิ่มศักยภาพของนักวิจัย และปรับปรุงอุปกรณ์งานวิจัย ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดต้นทุน เพิ่มกำไรส่วนเพิ่ม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และตอบสนองความต้องการของลูกค้า

ผลิตภัณฑ์สีเขียว
ไออาร์พีซีมุ่งมั่นที่จะวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ตามความต้องการของลูกค้า รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เติบโตอย่างยั่งยืน และปรับเปลี่ยนองค์กรตามสถานการณ์เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

นโยบาย

ไออาร์พีซี พัฒนาและปรับปรุงนโยบายด้านการบริหารจัดการระบบสารสนเทศปี 2562 โดยครอบคลุมถึงปัจจัยที่สำคัญ ดังนี้

  • ความเสี่ยงระดับสูงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์
  • การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จากผู้ตรวจสอบภายในและภายนอกในทุกกปี
  • กระบวนการติดตามการคุกคามทางไซเบอร์
  • ระดับการคุกคามทางไซเบอร์
  • การรายงานการคุกคามต่อคณะกรรมการระบบการจัดการข้อมูล (Information Management System Committee)
  • การร่วมมือกับหน่วยงานเพื่อเก็บ ติดตาม และตรวจสอบเพื่อป้องกันการคุกคาม
  • การส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และความตะหนักด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้แก่พนักงาน
  • การอบรมพนักงานเพื่อสร้างความเข้าใจด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์
  • การลงโทษ
  • กระบวนการตอบสนองต่อเหตุการณ์ไซเบอร์ (Cyber Security Incident Response Process)

กระบวนการและระบบบริหารจัดการ

หลักสูตรการอบรมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ครอบคลุมถึงการคุกคามทางไซเบอร์และผลกระทบต่อธุรกิจ พนักงานไออาร์พีซี ได้เข้าการอบรมด้านข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Privacy) ซึ่งจัดโดยสำนักกิจการองค์กร (Corporate Affair Office)

นโยบายการบริหารจัดการระบบสารสนเทศ กำหนดแนวทางปฎิบัติการทั้งแก่พนักงานและบุคคลที่ไม่ใช่พนักงาน โดยกิจกรรมที่น่าสงสัย อาทิ ความผิดปกติของระบบ SAP, Phishing Mail และการแฮกข้อมูล จะต้องถูกรายงานต่อผู้บังคับบัญชา หรือ IT HELPDESK

ผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของข้อมูลทางไซเบอร์เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของการประเมินผลการดำเนินงานของพนักงาน ในกรณีพบเหตุการณ์ดังกล่าว จะมีการลงโทษทางวินัย นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ได้จัดตั้งตัวชี้วัด (KPI) ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับพนักงาน IT เพื่อป้องกันเหตุการณ์การคุกคามทางไซเบอร์