ความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม

ความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม

แนวทางการบริหารจัดการ 

ไออาร์พีซี กำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม โดยมีการลงทุนในโครงการทางสังคมต่าง ๆ ร้อยละ 3 ของกำไรสุุทธิเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง ซึ่ง ไออารพีซี ได้ให้ความสำคัญต่อชุมชนในฐานะที่เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท จึงมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนรอบเขตประกอบการฯ ทั้งนี้ ไออาร์พีซี ได้จำแนกประเภทโครงการทางสังคมออกเป็น 3  ด้าน ได้แก่ โครงการเพื่อชุมชน โครงการเพื่อการศึกษา และโครงการเพื่อสังคม โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการดำเนินโครงการทางสังคม ประกอบด้วย 1) เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมขนและบริษัทผ่านกิจกรรมการมีส่วนร่วมกับชุมชน 2) เพื่อมอบประโยชน์ให้กับชุมชนอย่างมีคุณค่า ที่เน้นการตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนและช่วยแก้ไขปัญหาในชุมชน 3) เพื่อเผยแพร่ข้อมูลของไออาร์พีซีที่ถูกต้องให้กับชุมชน ทำให้เกิดความเชื่อมั่นและทัศนคติที่ดีต่อการดำเนินงานของบริษัท และ 4) เพื่อให้ชุมชนเกิดการยอมรับและไว้ใจบริษัท (Social license to Operate: SL2O) อย่างต่อเนื่อง

 

ไออาร์พีซี ได้วางกรอบแนวทางการดำเนินโครงการทางสังคม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 แนวทาง ได้แก่ การสร้างสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้ยั่งยืน การพัฒนาการศึกษา และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยการดำเนินโครงการทางสังคมต่าง ๆ ของบริษัท จะมีความสอดคล้องกับปัจจัยขับเคลื่อนทางธุรกิจและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals: SDGs) โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เป้าหมายที่ 4 คุณภาพด้านการศึกษา และเป้าหมายที่ 13 การดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศ

1นโยบาย

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมรวมถึงวางกลยุทธ์การดำเนินงาน 5 ปี โดยให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งถือเป็นแนวปฏิบัติสำหรับผู้บริหาร พนักงาน และบริษัทในกลุ่มไออาร์พีซี ในการดำเนินโครงการทางสังคม ซึ่งสามารถสรุปแนวปฏิบัติได้ ดังนี้

  • เป็นไปตามแนวทางการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยมุ่งเน้นความซื่อสัตย์ ยุติธรรม โปร่งใส และความรับผิดชอบ ด้วยการคำนึงถึงประโยชน์ที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียและการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม
  • ดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรมและหลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งของผลประโยชน์ทางธุรกิจ รวมถึงส่งเสริมการค้าเสรีที่ไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์ สนับสนุนต่อต้านการทุจริตและการรับสินบน โดยกำหนดช่องทางและกระบวนการจัดการเรื่องร้องเรียน ร่วมกับประเมินความเสี่ยงด้านการต่อต้านทุจริตในการดำเนินโครงการทางสังคม
  • เคารพหลักการสิทธิมนุษยชนในระดับสากล ซึ่งเป็นรากฐานสำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนการปฏิบัติต่อลูกค้าและคู่ธุรกิจ
  • รับผิดชอบต่อลูกค้าด้วยการดูแลและพัฒนามาตรฐานของผลิตภัณฑ์และบริการ โดยให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอสำหรับลูกค้า รวมถึงการเก็บข้อมูลของลูกค้าไว้เป็นความลับ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากลูกค้าก่อนจะเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว
  • สร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและชุมชน เพื่อส่งเสริมการตรวจสอบ การแก้ไข และการปรับปรุงการดำเนินธุรกิจและโครงการของบริษัทเชิงป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบทางลบต่อชุมชนและสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ สนับสนุนโครงการหรือกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้ทักษะองค์ความรู้และทรัพยากรภายในองค์กร
  • ดูแลสิ่งแวดล้อมด้วยการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม โดยติดตามและประเมินผลคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงสนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาวะฉุกเฉิน
  • ดำเนินนวัตกรรมทางธุรกิจเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับไออาร์พีซี รวมถึงสร้างคุณค่าผลประโยชน์แก่บริษัทและกลุ่มเป้าหมาย เช่น นวัตกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีสารป้องกันแบคทีเรีย ส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค
  • จัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล รวมถึงเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้กับผู้มีส่วนได้เสียรับทราบ โดยความร่วมมือจากผู้บริหารในกลุ่มธุรกิจไออาร์พีซีในการให้สนับสนุนพนักงานขับเคลื่อนนโยบายนี้ให้เกิดความสำเร็จ

2กระบวนการและระบบบริหารจัดการ

ไออาร์พีซี ได้ดำเนินโครงการทางสังคมตามกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม  ซึ่งจำแนกออกเป็น 3  ด้าน ได้แก่ 1) โดยแนวทางการกำหนดโครงการทางสังคมแต่ละด้านจะพิจารณาจากความสำคัญและความต้องการที่เร่งด่วนของชุมชน อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการทางสังคมของไออาร์พีซี และบริษัทในกลุ่มต้องสอดคล้องและเป็นไปตามนโยบายการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมขององค์กร

การระบุความต้องการและปัญหาของชุมชน

ไออาร์พีซี ใส่ใจในความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน โดยมีการพิจารณาถึงความต้องการและปัญหาของชุมชนในการกำหนดโครงการทางสังคม ซึ่งครอบคลุมในทุกๆ โครงการภายใต้การปฏิบัติงานของไออาร์พีซี (ร้อยละ 100) โดยทั่วไป ไออาร์พีซี ได้รับข้อมูลความต้องการและปัญหาของชุมชนจากกิจกรรมการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนรอบเขตประกอบการฯ (ในรัศมี 5 กม. ของพื้นที่ประกอบการฯ) โดยเฉพาะในระหว่างการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ยังมีการจัดประชุมหรือพบปะชุมชนอย่างสม่ำเสมอซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนในชุมชนไม่ว่าจะเป็นเด็กไปจนถึงผู้สูงอายุสามารถแสดงความคิดเห็น ความต้องการ ปัญหาและข้อห่วงกังวลที่มีต่อบริษัท

ยิ่งไปกว่านั้น ไออาร์พีซี ตระหนักดีว่าความต้องการและปัญหาของชุมชนที่แจ้งผ่านช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน จะต้องได้รับการพิจารณาตรวจสอบและดำเนินการแก้ไขปัญหาหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท  ดังนั้น ไออาร์พีซี จึงได้แต่งตั้ง ศูนย์ควบคุมภาวะฉุกเฉิน (Emergency Control Center) เพื่อรับผิดชอบดำเนินการจัดการข้อร้องเรียนและเยียวยาชุมชนที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็ว

 

ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูจากรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) (อาทิ หัวข้อการมีส่วนร่วมของประชาชนและการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย) และรายงานติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment and Monitoring Result)

 

กลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมของไออาร์พีซี

ในปี 2563 ไออาร์พีซี ได้ดำเนินโครงการทางสังคม ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) โครงการเพื่อชุมชน 2) โครงการเพื่อการศึกษา และ 3) โครงการเพื่อสังคม ดังนี้

ด้านโครงการทางสังคม
ความสอดคล้องต่อเป้าหมายธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่างการดำเนินโครงการทางสังคม ในปี 2563
โครงการเพื่อการศึกษา
ไออาร์พีซี ให้ความสำคัญต่อคุณภาพการศึกษาที่ดี รวมถึงการสนับสนุนโครงการเพื่อการศึกษาที่สร้างบุคคลที่มีคุณภาพให้กับประเทศ
ไออาร์พีซี ส่งเสริมความรู้และการศึกษาให้แก่นักเรียนในชุมชน ด้วยความตั้งใจที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาในเขตชนบท โดยได้มอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ในพื้นที่เขตประกอบการฯ
ผลประโยชน์ทางสังคม:
  • ให้โอกาสทางการศึกษาที่ดีแก่นักเรียนท้องถิ่น
  • มอบทุนการศึกษาในปี 2563 จำนวน 299 ทุน ให้กับนักเรียนที่มีฐานะยากจนแต่มีผลการเรียนดีเด่น
ผลประโยชน์ทางธุรกิจ:
  • ระดับคะแนนความพึงพอใจของชุมชนเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 97.45
โครงการเพื่อสังคม
ไออาร์พีซี ได้ร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน (ทุกโครงการ) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Philosophy of Sufficiency Economy)
โครงการลำไทรโยง (Lam Sai Yong Model) มีวัตถุุประสงค์หลักเพื่อเสริมสร้างศักยภาพแก่ชุมชนทางการเกษตรที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ ให้สามารถรับมือกับผลกระทบจากภัยแล้ง ผ่านการขุดบ่อบาดาลสำรองน้ำ และยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนทางการเกษตรในพื้นที่แห้งแล้ง ให้เป็นชุมชนที่มีความมั่งคงทางด้านน้ำและอาหาร เพื่อเป็นรากฐานที่มั่นคงต่อโครงสร้างทางการผลิตในภาคการเกษตรของไทย จากความสำเร็จของโครงการลำไทรโยงที่ได้ดำเนินการในพื้นที่ลำไทรโยง อ. นางรอง จ. บุรีรัมย์ ได้ขยายผลไปยังจ. อุตรดิตถ์ และ จ. ศรีสะเกษผล
ประโยชน์ทางสังคม:
  • สามารถเก็บน้ำสำรองไว้สำหรับการใช้น้ำของชุมชน รวมถึงการใช้ในครัวเรือนและการเกษตร
  • ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น 20,000 – 30,000 บาท ต่อครัวเรือน ต่อปี
ผลประโยชน์ทางธุรกิจ:
  • พัฒนาทักษะของพนักงานที่เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการ อาทิ ทักษะด้านวิศวกรรม ทักษะด้านการจัดการน้ำท่วม
  • ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
โครงการเพื่อชุมชน
ไออาร์พีซี มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  รวมถึงส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของชุมชนและลูกค้า
มีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมสุขภาพชุมชนรอบเขตประกอบการฯ โดย ไออาร์พีซี ได้ร่วมสนับสนุนสุขภาพของชาวระยองผ่านโครงการที่เกี่ยวกับสุขภาพต่าง ๆ  อาทิ โครงการคลินิกปันน้ำใจ โครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่
ผลประโยชน์ทางสังคม:
  • 4,019 คน ได้รับบริการด้านสุขภาพผ่านโครงการคลินิกปันน้ำใจและโครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่
  • 26 โครงการที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ โดยได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมสุขภาพชุมชน
ผลประโยชน์ทางธุรกิจ:
  • ระดับคะแนนความพึงพอใจของชุมชนเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 97

 

ผลการดำเนินงาน

 

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถเลือกตั้งคำยินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “การตั้งค่าคุกกี้” การตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ประเภทจำเป็นถาวร (Strictly Neccessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้เหล่านี้คือคุกกี้ที่มีความจำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ และให้ท่านใช้คุณสมบัติต่างๆในเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ (Analytical/Performance Cookies)

    คุกกี้เหล่านี้สามารถเก็บรวบรวมพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของท่าน ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของท่าน อีกทั้งยังสามารถวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาของเรา

ยินยอมตัวเลือกของฉัน