การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย

ไออาร์พีซี ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมกับผู้มี

แนวทางการบริหารจัดการ

1.  นโยบาย

ไออาร์พีซี ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี อันเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างรากฐานที่สำคัญระหว่างไออาร์พีซี และผู้มีส่วนได้เสีย ไออาร์พีซี วางแผนกลยุทธ์ความยั่งยืน 3C ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) การบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และการสร้างคุณค่าเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน (Creating Social Value) โดยกลยุทธ์ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อคำนึงถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียในการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ มีการเปิดเผยนโยบายการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียไว้ในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งครอบคลุมถึงแนวทางการบริหารจัดการในแต่ละกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย

2.  องค์กรที่รับผิดชอบ

กระบวนการและแนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

ไออาร์พีซี กำหนดแนวทางการสร้างการส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่นอกเหนือจากจากวิธีการทั่วไป โดยกระบวนการดังกล่าวได้พิจารณาถึงปัจจัยด้านการเติบโตของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงทางประชากร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทรัพยากรน้ำ ไออาร์พีซี มุ่งเน้นที่จะสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย โดยใช้หลักการการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียแบบบูรณาการเพื่อเข้าถึงปัญหาได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ไออาร์พีซี เชื่อมั่นในแนวทางการดำเนินงานอย่างโปร่งใส เพื่อสร้างความยั่งยืนต่อธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสียในทุกภาคส่วน

  • ร่วมสร้างสรรค์ (Co-creation) – ไออาร์พีซีมุ่งเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย หลักการนี้ครอบคลุมไปถึงการดำเนินงานที่นอกเหนือจากการควบคุมความเสี่ยงต่อองค์กร และการหารือกับผู้มีส่วนได้เสีย
  • การมีส่วนร่วมในหลายระดับ (Multi-level Engagement) – ไออาร์พีซี มุ่งเน้นที่จะขยายการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในทุกระดับที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของไออาร์พีซี โดยไม่แบ่งแยกถึงระดับความมีอิทธิพลของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  • การมีส่วนร่วมแบบเชิงลึก (Deep Engagement) – ไออาร์พีซี มุ่งเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียแบบเชิงลึก โดยเฉพาะในประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบต่อกลยุทธ์ขององค์กร

ไออาร์พีซี กำหนดกระบวนการการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียเพื่อนำมุมมอง ความสนใจ และข้อกังวล จากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อนำมากำหนดแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม

การร้องทุกข์และรับเรื่องร้องเรียน

ไออาร์พีซี มีกระบวนการรับเรื่องร้องเรียน เพื่อจัดการและติดตามข้อร้องเรียน ข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย และมีการบริหารจัดการข้อร้องเรียน โดยกำหนดระดับความสำคัญ เวลาในการแจ้งผลกลับ และหน่วยงานที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ มีผังงานที่อธิบายถึงขั้นตอนการจัดการข้อร้องเรียน เป็นดังนี้

ศูนย์ควบคุมภาวะฉุกเฉิน (Emergency Control Center) มีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน และจัดการเรื่องร้องเรียน ตลอด 24 ชั่วโมง โดยจะส่งเรื่องร้องเรียนต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Operations and Environmental Quality Observatory, and Production) เพื่อตรวจสอบสาเหตุ และรายงานผลต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ซึ่งมีกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นประธาน โดย ไออาร์พีซี จะดำเนินการแจ้งให้ผู้ร้องเรียนทราบถึงมาตรการแก้ไขและการเยียวยาภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากได้รับเรื่องร้องเรียน

นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ยังได้มีการกำหนดตัวชี้วัดด้านการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียผ่านระบบ Lesson Learnt Tracking System เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและนำบทเรียนที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถเลือกตั้งคำยินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “การตั้งค่าคุกกี้” การตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ประเภทจำเป็นถาวร (Strictly Neccessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้เหล่านี้คือคุกกี้ที่มีความจำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ และให้ท่านใช้คุณสมบัติต่างๆในเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ (Analytical/Performance Cookies)

    คุกกี้เหล่านี้สามารถเก็บรวบรวมพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของท่าน ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของท่าน อีกทั้งยังสามารถวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาของเรา

ยินยอมตัวเลือกของฉัน