การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ

ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)

ตามนิยามโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union of conservation or Nature and Natural Resources: IUCN) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตที่มีความแตกต่างและหลากหลาย ในแหล่งที่อยู่อาศัย ทั้งบนพื้นโลก ในทะเล และในระบบนิเวศต่างๆ ซึ่งความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตนี้รวมไปถึงความหลากหลายระหว่างชนิดพันธุ์ ระหว่างสายพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ

 

ความหลากหลายทางชีวภาพให้ประโยชน์และคุณค่าต่อมนุษย์ ผ่านกระบวนการทางนิเวศวิทยาต่างๆ หรือที่เรียกว่า บริการของระบบนิเวศ (Ecosystem Services) ได้แก่ ด้านอาหารและพลังงาน การควบคุมสภาพแวดล้อม ตามวัฏจักรคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ รวมไปถึงบริการด้านวัฒนธรรม (Cultural Services) เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์

 

การดูแลเอาใจใส่ในด้านความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ รวมถึงสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นส่วนหนึ่งในค่านิยมหลักของไออาร์พีซี และบริษัทในเครือ เนื่องจากตระหนักดีว่าการประกอบกิจการ และการดำเนินงานของเราตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ รวมถึงธุรกิจค้าปลีกนั้น ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางบวกและลบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพ และบริการของระบบนิเวศ ดังนั้น เราจึงให้ความสำคัญกับการปกป้อง และการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพตลอดสายโซ่อุปทาน เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว

 

ไออาร์พีซี และบริษัทในเครือมุ่งมั่นที่จะผนวกการพิจารณาผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพเข้าไปในกระบวนการการตัดสินใจทางธุรกิจ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงและลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อคุณค่าทางชีวภาพที่มีความอ่อนไหวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม

 

ค่านิยมด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ

ไออาร์พีซี และบริษัทในเครือมีความมุ่งมั่นที่จะปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ โดยกำหนดไว้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และการจัดการพลังงาน บริษัทไออาร์พีซีฯ (IRPC QSSHE Policy) ซึ่งเป็นนโยบายระดับสูงสุด ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดย

  • ออกแบบ และบริหารการจัดการพื้นที่ปฏิบัติการ/ โรงงาน เพื่อหลีกเลี่ยงและลดผลกระทบด้านลบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
  • ดำเนินงานกระบวนการต่างๆ อย่างมีความรับผิดชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
  • ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด และหลีกเลี่ยงการสร้างผลกระทบต่อพื้นที่ป่าไม้สุทธิ โดยมุ่งมั่นที่จะดำเนินการฟื้นฟูหรือปลูกป่าไม้ เพื่อชดเชยการสูญเสียป่าไม้จากการดำเนินธุรกิจ   (No Net Deforestation)

โดยความมุ่งมั่นด้านความหลากหลายทางชีวภาพนี้ครอบคลุมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ ได้แก่ คู่ค้าที่ทำธุรกิจกับ ไออาร์พีซี และบริษัทในเครือโดยตรง (Tier-1 suppliers) และคู่ค้าที่ไม่ได้ทำธุรกิจกับไออาร์พีซี และบริษัทในเครือโดยตรง (Non-tier-1 suppliers)

 

ผลการดำเนินงานด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ

ไออาร์พีซี และบริษัทในเครือจะดำเนินการดังต่อไปนี้ เพื่อสะท้อนความพยายามในการปกป้องและจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ:

  • บูรณาการการประเมินและการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านการบังคับใช้นโยบาย QSSHE บริษัท ไออาร์พีซีฯ
  • จัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่ที่อ่อนไหวด้านความหลากหลายทางชีวภาพ หรือพื้นที่ใกล้เคียง โดยดำเนินงาน ให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่ยึดถือปฏิบัติ
  • ปฏิบัติตามข้อควรปฏิบัติ (Operating Practices/ Procedures) ที่กำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงและลดการสูญเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
  • แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (No-Net-Loss) ภายใต้ขอบเขตที่สามารถจัดการได้
  • หลีกเลี่ยงการสำรวจบุกเบิกและดำเนินธุรกิจในพื้นที่ที่ได้ถูกกำหนดให้เป็นมรดกโลก และพื้นที่อนุรักษ์ตามที่

 

แนวทางการปฏิบัติงานด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
  • ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานของไออาร์พีซี และบริษัทในเครือที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
  • ดำเนินกิจกรรม การดำเนินงาน โดยรับผิดชอบในทุกพื้นที่ ที่มีความอ่อนไหวด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
  • บ่งชี้การดำเนินการในการหลีกเลี่ยงและลดผลกระทบเชิงลบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ โดยประยุกต์ใช้แนวทาง “การบรรเทาผลกระทบตามลำดับชั้น” ตั้งแต่การหลีกเลี่ยงที่จะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง การลดผลกระทบโดยปรับปรุงการดาเนินการให้ดีขึ้น หรือการชดเชย (Offset) ความสูญเสียที่เกิดขึ้น
  • ค้นหาวิธีการที่จะทำให้เกิดการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเชิงบวก
  • บูรณาการการบ่งชี้ ประเมิน บริหารจัดการ และติดตามตรวจสอบคุณค่าทางความหลากหลายทางชีวภาพ เข้าไปในกระบวนการประเมิน (Due Diligence) ก่อนการควบรวมกิจการ การศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และกระบวนการบริหารความเสี่ยงขององค์กร
  • เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ โดยการสร้างความร่วมมือ การให้คำปรึกษา และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง
  • สื่อสารกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพไปยังชุมชนท้องถิ่น พนักงาน และสาธารณชน 

 

การวัดประสิทธิผลการดำเนินงาน

ประสิทธิผลการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและการบริการของระบบนิเวศจะถูกวัดผล โดย

  • ประเมินและติดตามสถานะของความเสี่ยงจากกิจกรรม การดำเนินงานของไออาร์พีซี และบริษัทในเครือที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
  • ติดตามตรวจสอบคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจประเมินกระบวนการและผลการดำเนินงาน ตามแนวปฏิบัติที่กำหนด

 

ประกาศคำแสดงเจตจำนงด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพไออาร์พีซี  [link]                                   

การประเมินความเสี่ยงความหลากหลายทางชีวภาพ [link]

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถเลือกตั้งคำยินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “การตั้งค่าคุกกี้” การตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ประเภทจำเป็นถาวร (Strictly Neccessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้เหล่านี้คือคุกกี้ที่มีความจำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ และให้ท่านใช้คุณสมบัติต่างๆในเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ (Analytical/Performance Cookies)

    คุกกี้เหล่านี้สามารถเก็บรวบรวมพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของท่าน ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของท่าน อีกทั้งยังสามารถวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาของเรา

ยินยอมตัวเลือกของฉัน