อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

IRPC promotes safety in every aspect

แนวทางการบริหารจัดการ

ไออาร์พีซี กำหนดแนวทางการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพและความตระหนักของพนักงาน และผู้รับเหมา โดยการเชื่อมโยงเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับการพัฒนากระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูล และยกระดับการประมวลผลที่ได้จากการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับสามารถนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการดำเนินการได้อย่างรอบด้าน และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศการทำงานผ่านการถ่ายทอดและแบ่งปันองค์ความรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ทำให้เกิดวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยที่ดีในองค์กร อีกทั้งยังดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาเสถียรภาพของอุปกรณ์ในกระบวนการผลิต เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการเป็นสถานประกอบการที่มีความเป็นเลิศด้านความปลอดภัย  โดยในแผนการดำเนินงาน ระหว่าง ปี 2563 – 2568 ไออาร์พีซี กำหนดกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมและการปฏิบัติการสู่ความเป็นเลิศ (Innovation and Operational Excellence (IOE) Strategic Framework) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ โดยตั้งเป้าหมายในการเป็นสถานประกอบการที่มีความเป็นเลิศด้านความปลอดภัยภายใน ปี 2568  ซึ่งมีเป้าหมายที่จะลดอัตราการบาดเจ็บจากการทำงานรวม (Total Recordable Injury Rate: TRIR) ที่ 0.30 กรณีต่อหนึ่งล้านชั่วโมงการทำงาน เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการดำเนินการด้านความปลอดภัยและสุขภาพของบุคลากร โดยมีกลยุทธ์ในการบริหารจัดการ 4 มิติ ได้แก่ 1) การบริหารจัดการความปลอดภัยของกระบวนการผลิต (Process Safety Management) 2) การจัดการ     อาชีวอนามัยและความปลอดภัยสู่ความเป็นเลิศ (SHE Excellence) 3) การเสริมสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย (Safety Culture) และ 4) ความพร้อมด้านสุขภาพในการปฏิบัติงาน (Health Management)

ไออาร์พีซี กำหนดหลักการบริหารจัดการแบบ “Role Model” ในการขับเคลื่อนองค์กร และจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยมีรองประธานกรรมการบริษัท (Vice President) ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ ร่วมกับคณะทำงานซึ่งเป็นตัวแทนพนักงานที่มาจากการเลือกตั้งในองค์กร ทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย เป้าหมาย และแนวทางการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยขององค์กร  นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ยังมีหน้าที่ในการควบคุม และตรวจสอบผลการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการปรับปรุงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องตามมาตรฐานสากล

 

1นโยบาย

ไออาร์พีซี ผลักดันและสนับสนุนการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยในทุก ๆ มิติ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยส่วนบุคคล ความปลอดภัยในกระบวนการผลิต และความปลอดภัยในกระบวนการขนส่ง ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในทุกขั้นตอนของการทำงาน โดยใช้มาตรฐานด้านความปลอดภัยเทียบเท่าระดับสากล ที่ส่งเสริมการสร้างความตระหนัก และสร้างวัฒนธรรมการทำงานของพนักงานและผู้รับเหมาทุกคนให้ปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย “Zero Accident” และ “Zero Emergency Case” นอกจากนี้ ไออาร์พีซี จัดทำคู่มือปฏิบัติงาน (Procedure Manual) การสั่งหยุดงาน หากไม่ปลอดภัย (Stop Work if Unsafe) ซึ่งระบุให้พนักงานทุกคนมีหน้าที่แจ้งและสั่งหยุดงานได้ หากพบเห็นอันตรายหรือเมื่อประเมินว่าการปฏิบัติงานอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ทันที

 นโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และการจัดการพลังงาน (Quality, Security, Safety, Occupational Health, Environment, and Energy Management PolicyQSSHE)

คุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และการจัดการด้านพลังงาน เป็นองค์ประกอบสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของ ไออาร์พีซี โดยผู้บริหารทุกระดับต้องเป็นตัวอย่างที่ดี มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมให้ผลการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับจุดมุ่งหมายและเป้าหมายขององค์กร และสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคน โดยจะต้องรับทราบ เข้าใจ และปฏิบัติตามนโยบายขององค์กรอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องในทุก ๆ ขั้นตอน โดยนโยบายการบริหารจัดการดังกล่าวได้ดำเนินการภายใต้กรอบของระบบการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Operational Excellence Management System: OEMS)

2ระบบและกระบวนการในการบริหารจัดการ 

ไออาร์พีซี ตระหนักถึงความปลอดภัยในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงานในทุก ๆ วันของพนักงาน  โดยตั้งเป้าหมายอุบัติเหตุเป็นศูนย์ (Zero Accident) เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย “ปราศจากเหตุการณ์ฉุกเฉิน (Zero Emergency Case)” ซึ่ง ไออาร์พีซี ได้ริเริ่มและดำเนินโครงการด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย เช่น โครงการ Goal Zero Accident ที่นำโดยฝ่ายบริหารคุณภาพ ความปลอดภัย และอาชีวอนามัย โดยมีการรณรงค์การสร้างวัฒนธรรมการทำงานอย่างปลอดภัยในพื้นที่ปฏิบัติงาน สร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ยังมีโครงการบริหารงานสู่ความเป็นเลิศด้านความปลอดภัย (Safety Excellence) เพื่อสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัย สนับสนุนความเป็นผู้นำด้านความปลอดภัย และอบรมบุคลากรเพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังมีการสร้างโครงการเครือข่ายด้านความปลอดภัย (Safety Network and Sharing) ใน กลุ่ม ปตท.

ไออาร์พีซี มีระบบการจัดการและบูรณาการฐานข้อมูล (Integrated Database Management System) เพื่อรวบรวมอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในโรงงาน ทำให้องค์กรสามารถวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ และนำไปสู่แนวทางการป้องกันแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีกในอนาคต นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ได้มีการนำระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต (Process Safety Management: PSM) มาประยุกต์ใช้ในการประเมินความเสี่ยงในโรงงานตามมาตรฐาน TIS/OHSAS 18001 สำหรับการปฏิบัติงานในทุกขั้นตอน ทำให้ ไออาร์พีซี สามารถรักษาสถิติด้านความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ได้จัดให้มีผู้ตรวจประเมินระบบ PSM ภายในองค์กร โดยการฝึกอบรมผู้ตรวจประเมินภายในองค์กรเพื่อทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบการทำงานอย่างปลอดภัย ซึ่งผลที่ได้จากการตรวจประเมินจะได้รับการวิเคราะห์เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการ ดำเนินการ ประกอบกับการกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในอนาคต

ไออาร์พีซี ให้ความสำคัญในการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย นอกจากจะบริหารอย่างสอดคล้องกับกฎหมาย โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำ งาน (Safety Occupational Health Committee: SHE) ประกอบไปด้วยตัวแทนฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างจำ นวนเท่ากัน โดยมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพเป็นเลขานุการ ทำหน้าที่พิจารณานโยบาย และแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน มีส่วนร่วมในการประเมินและระบุความเสี่ยง สนับสนุนกิจกรรม ส่งเสริมความปลอดภัยอื่น ๆ รวมถึงติดตามผลการดำเนินงานพร้อมเสนอแนะมาตรการป้องกันและแก้ไข ผ่านการประชุม เป็นประจำทุกเดือน และยังได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหาร ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (IRPC Management Safety & Occupational Health Committee: MANSAFCOM) คณะกรรมการบริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานระดับฝ่าย (Department Safety Committee: DEP.SC) เพื่อให้การบริหารการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพทั้งองค์กร

ระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต (PSM)

ไออาร์พีซี ดำเนินการบริหารจัดการตามระบบปฏิบัติการที่เป็นเลิศ (Operational Excellence Management System OEMS) ร่วมกับการบริหารจัดการความปลอดภัยของกระบวนการผลิต (Process Safety Management PSM) ในการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของโรงงานเป็นประจำทุกปีตามมาตรฐานTIS/OHSAS 18001 และทุก ๆ 5 ปี ตามกฎหมาย หรือเมื่อใดก็ตามที่มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ยังมีการประสานความร่วมมือกับกลุ่ม ปตท. ในการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการความปลอดภัยของกระบวนการผลิต เพื่อสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ซึ่งไออาร์พีซี ได้มีการดำเนินงานตามนโยบายการบริหารจัดการความปลอดภัยมาอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด

ในปี 2559 ไออาร์พีซี นำเสนอเกณฑ์ความปลอดภัยของอุปกรณ์ที่สำคัญ (Safety Critical Equipment Criteria) เพื่อใช้ในการจัดลำดับการบำรุงรักษาอุปกรณ์ โดยให้ความสำคัญที่เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีผลต่อความปลอดภัย อาทิ อุปกรณ์ป้องกันการสัมผัสส่วนบุคคล (Human Exposure Protection Equipment) หรืออุปกรณ์ควบคุมแรงดันฉุกเฉิน (Emergency Pressure Release Equipment) เป็นต้น

การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสู่ความเป็นเลิศ (SHE Excellence)

ไออาร์พีซี ประเมินประสิทธิผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัย(Safety Excellence Assessment) เพื่อทบทวนและพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งยังเป็นการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และความปลอดภัยภายในองค์กร โดยใน ปี 2563 ไออาร์พีซี ได้กำหนดการให้รางวัลอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสู่ความเป็นเลิศ (SHE Excellence Award) ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณาแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ Bronze, Silver, Gold, Platinum และ Diamond

การเสริมสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย (Safety Culture)

ไออาร์พีซี เสริมสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยโดยการกำหนดนโยบายและโครงการต่าง ๆ อาทิ              การบริหารพฤติกรรมด้านความปลอดภัย (Behavior Safety Management: BSM) โดยลักษณะการดำเนินงานของโครงการนี้จะกระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วมในการรายงานสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ปลอดภัย และพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงหรือไม่ปลอดภัยภายในองค์กร แนะนำแนวทางในปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย รวมถึงได้กำหนดจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน (Procedure Manual) การสั่งหยุดงาน หากไม่ปลอดภัย (Stop Work if Unsafe) ที่พนักงานสามารถหยุดทำงานทันที เมื่อพบว่ามีสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย หรือมีความเสี่ยงที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงการออกจากสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ปลอดภัย โดยไม่มีความผิด

นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ได้มีการจัดอบรมด้านความปลอดภัยให้แก่พนักงาน และผู้รับเหมาทุกคน โดยกำหนดแนวทางให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติต่อผู้รับเหมาเช่นเดียวกับพนักงานของ ไออาร์พีซี และมีการแต่งตั้งหน่วยงานตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ในกรณีที่มีการเกิดอุบัติเหตุ ไออาร์พีซี จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อระบุสาเหตุ โดยถอดบทเรียนจากกรณีการเกิดอุบัติเหตุเป็นความรู้และถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวให้กับพนักงานเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำอีกในอนาคต อีกทั้ง ไออาร์พีซี มีการจัดทำและเผยแพร่วารสารที่มีการบันทีกรายละเอียดด้านความปลอดภัยอยู่อย่างสม่ำเสมอ

ไออาร์พีซี ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยในองค์กร โดยจัดให้มีการประเมินผลต่อวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย โดยให้พนักงานมีส่วนร่วมในการประเมินผ่านทางการตอบแบบสอบถามด้วยวิธีการสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ และตรวจสอบเอกสาร ซึ่งพบว่ามีพนักงานเข้าร่วมการประเมินฯ มากกว่าร้อยละ 80 ของพนักงานทั้งหมด ทั้งนี้ ไออาร์พีซี ได้กำหนดเป้าหมายในปี 2568  ที่จะได้รับคะแนน SHE Culture Score ให้ได้เท่ากับ ระดับ 4.20

 

ความพร้อมด้านสุขภาพในการปฏิบัติงาน

 

นอกเหนือจากการมุ่งเน้นการดำเนินงานด้านความปลอดภัยแล้ว ไออาร์พีซี ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพที่แข็งแรงของพนักงาน ด้วยเหตุนี้ ไออาร์พีซี จึงได้ดำเนินโครงการ “สุขภาพดี เริ่มต้นที่นี่” (Good Health Starts Here) เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง เช่น การดูแลพนักงานที่มีค่าดัชนีมวลกาย (Body Max Index: BMI) เกินค่ามาตรฐาน บริการอาหารที่มีคุณประโยชน์และดีต่อสุขภาพฟรีให้กับพนักงานในมื้อกลางวัน เช่น ผักปลอดสารพิษ และน้ำพริก สนับสนุนให้จัดอาหารว่างเพื่อสุขภาพระหว่างการประชุม เช่น ผลไม้ เครื่องดื่มสมุนไพร เป็นต้น รวมถึงการสนับสนุนให้มีสถานที่และอุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับพนักงาน

ในปี 2563 ฝ่ายบริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมของ ไออาร์พีซี ได้จัดให้มีการกำหนดค่าดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพด้านสุขภาพ (Health Performance Indicator Score: HPI) ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพด้านสุขภาพของพนักงานโดยการพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ทั้งนี้ ไออาร์พีซี ได้ใช้ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีของพนักงานในองค์กร ผ่านการติดตามตรวจสอบ ฝึกอบรม และการรณรงค์ด้านสุขภาพที่ดีภายในองค์กร อาทิ มาตรการควบคุมสุขอนามัยและปัจจัยเสี่ยงในสถานที่ทำงาน การฝึกอบรมการปฐมพยาบาล การประเมินความพร้อมสำหรับการทำงาน และการเฝ้าระวังทางสุขภาพ

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถเลือกตั้งคำยินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “การตั้งค่าคุกกี้” การตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ประเภทจำเป็นถาวร (Strictly Neccessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้เหล่านี้คือคุกกี้ที่มีความจำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ และให้ท่านใช้คุณสมบัติต่างๆในเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ (Analytical/Performance Cookies)

    คุกกี้เหล่านี้สามารถเก็บรวบรวมพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของท่าน ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของท่าน อีกทั้งยังสามารถวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาของเรา

ยินยอมตัวเลือกของฉัน