จริยธรรมและความโปร่งใส

แนวทางการบริหารจัดการ

1. นโยบาย

เพื่อเสริมสร้างนโยบายและคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไออาร์พีซี จึงได้จัดทำนโยบายอื่น ๆ เพิ่มเติม อาทิ นโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน และนโยบายกฎระเบียบ (Compliance Policy) ซึ่งอธิบายถึงแผนการปฏิบัติของบริษัทตามจรรยาบรรณทางธุรกิจและความซื่อสัตย์ในการบริหารจัดการ

2. หน่วยงานรับผิดชอบ

คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี ทำหน้าที่ติดตามและดูแลการบริหารจัดการเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงการติดตามประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันและนโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (Good Governance, Risk Management and Compliance Management; GRC) นอกจากนี้ ไออาร์พีซี (โดยหน่วยงานสำนักกิจการองค์กร) ได้กำหนดจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ (Code of Conduct) เพื่อให้พนักงานใช้เป็นแนวปฏิบัติที่ดี

คณะกรรมการตรวจสอบ ทำหน้าที่ติดตามการดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทมีระบบควบคุมภายใน (Internal Control) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล ตลอดจนการปฏิบัติตามคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ได้ร่วมมือกับคณะกรรมการตรวจสอบภายนอก เพื่อตรวจสอบอย่างรอบคอบภายใต้การกำหนดของคณะกรรมการบริษัทฯ

3. กระบวนการและระบบบริหารจัดการ

ด้วยความเชื่อมั่นว่าจรรยาบรรณทางธุรกิจจะเสริมสร้างความไว้วางใจต่อบริษัทฯ ไออาร์พีซี จึงยึดมั่นกับจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ (Code of Conduct) เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ ควบคู่ไปกับดูแลผู้มีส่วนได้เสียอย่างยั่งยืน

จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ (Code of Conduct)

ค่านิยมขององค์กร มาตรการ และหลักปฏิบัติการด้านจรรยาบรรณทางธุรกิจถูกกำหนดไว้ในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี ไออาร์พีซี ตระหนักถึงความสำคัญของจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ และได้กำหนดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยมีอธิบายถึงการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานประจำวัน ทั้งนี้ จรรยาบรรณทางธุรกิจประกอบด้วยประเด็นหลัก ดังนี้

  • ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น
  • ความสัมพันธ์กับลูกค้าและสาธารณชน
  • ความสัมพันธ์กับคู่ค้า คู่แข่งทางธุรกิจ และเจ้าหนี้
  • ความรับผิดชอบต่อพนักงาน
  • ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ไออาร์พีซี กำหนดให้พนักงานทุกคนรับทราบและลงนามที่จะปฏิบัติตาม และส่งเอกสารยินยอมไปที่สำนักกิจการองค์กร นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ได้เผยแพร่ข้อมูลและจัดการอบรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณทางธุรกิจให้แก่พนักงานผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ การปฐมนิเทศพนักงานใหม่ กิจกรรมวันกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance Day) หลักสูตรการฝึกอบรม และการทบทวนอย่างต่อเนื่องผ่านระบบ e-learning

นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ได้เผยแพร่มาตรการและหลักปฏิบัติการในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี ให้แก่คู่ธุรกิจ บริษัทร่วมทุน และบริษัทที่ไออาร์พีซีมีหุ้นส่วนน้อยกว่าร้อยละ 51 รวมถึงสมาคมธุรกิจอื่นๆ โดยไออาร์พีซี กำหนดให้บริษัทร่วมทุนดำเนินงานตามจรรยาบรรณของธุรกิจตนเอง โดยต้องมีมาตรการที่เทียบเท่ากับคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของไออาร์พีซี ในกรณีที่บริษัทร่วมทุนไม่มีการกำหนดจรรยาบรรณบริษัทเป็นของตนเอง บริษัทนั้นๆ จะต้องปฏิบัติตามคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของไออาร์พีซี

การรายงานเหตุการณ์ละเมิด (Reporting on Breaches)

ไออาร์พีซี กำหนดและปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจซึ่งมีหน่วยงานได้รับมอบหมายให้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจน และจัดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแสและรับข้อร้องเรียนสำหรับผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยมีกระบวนการตรวจสอบและแก้ไขที่ชัดเจน เป็นกลาง และโปร่งใส และมีมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสและพยานที่เกี่ยวข้อง ตามนโยบายการแจ้งเบาะแสการกระทำผิด (Whistleblowing Policy) ทั้งนี้ ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรสามารถสื่อสารได้โดยตรงกับประธานคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี ผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ โทรศัพท์ เว็บไซต์บริษัท อีเมล์ และตู้ไปรษณีย์ (PO Box)

ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน

เรื่องร้องเรียนทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบและสอบสวนโดยหน่วยงานตรวจสอบภายใน (Office of Corporate Internal Audit) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเบื้องต้น เพื่อรายงานไปยังคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริษัทฯ และผู้เกี่ยวข้องตามลำดับที่ระบุไว้ในกระบวนการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียน (Compliant Management Procedure) นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ยังได้ร่วมมือกับคณะกรรมการตรวจสอบอิสระเพื่อดำเนินการตรวจสอบอย่างรอบคอบภายใต้ข้อกำหนดของคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จรรยาบรรณบริษัทฯ และมาตรการสากล ทั้งนี้ ไออาร์พีซี มีช่องทางให้ผู้ร้องเรียนภายในและภายนอกองค์กรรายงาน ข้อมูลและหลักฐานของการกระทำที่ผิดกฎหมายและผิดจรรยาบรรณ

ผลสืบเนื่องจากการละเมิด (Consequence of Breaches)

ไออาร์พีซี กำหนดบทลงโทษในกรณีที่พบการกระทำผิดต่อกฎหมายหรือกฎระเบียบของบริษัทฯ อย่างเป็นธรรมและโปร่งใสในทุกกรณี คณะกรรมการตรวจสอบภายใน (Internal Audit Committee) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่พิจารณา ทวนสอบ และรายงานเหตุการณ์ไปยังคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) และคณะกรรมการ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามลำดับ ที่ระบุไว้ในกระบวนการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียน (Compliant Management Procedure)

ผลการดำเนินงาน 

ในปี 2563 ไออาร์พีซี ได้รับเรื่องข้อร้องเรียน 33 เรื่อง ผ่านช่องทางการร้องเรียน โดยแบ่งเป็นข้อเสนอแนะ 7 เรื่อง และข้อร้องเรียน 26 เรื่อง ซึ่งประกอบด้วย เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฎิบัติงาน 5 เรื่อง และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมพนักงาน 20 เรื่อง และเรื่องยักยอกทรัพย์สิน 1 เรื่อง ทั้งนี้ ไออาร์พีซี ไม่พบกรณีที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชัน โดยไม่พบกรณีการร้องเรียนต่อนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน โดยปัจจุบัน ข้อร้องเรียนทุกเรื่องได้รับการติดตามและแก้ไขอย่างเหมาะสม

ในปี 2563 จากการตรวจสอบข้อร้องเรียน ไออาร์พีซี หน่วยงานที่รับผิดชอบจะได้รับการแจ้งเตือนเพื่อจัดเตรียมมาตรการป้องกันอย่างเหมาะสม

 

จำนวน
 
ช่องทาง
ประเภท
สถานะ
Email
& Mail
ตู้ ป.ณ.
Web
site
หัวหน้างาน
การทำงาน
พฤติกรรม
ยักยอก
ข้อเสนอแนะ
เสร็จสิ้น
ระหว่างการสอบสวน
1
6
4
3
3
3
2
10
1
รวม
11 (100%)
11 (100%)
11 (100%)
%
10
55
35
27
27
27
19
90
10

4. ความโปร่งใส

การสนับสนุนหน่วยงานและสมาคม (Organization Contributions)

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงด้านข้อกำหนดกฏหมาย มักมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินงานของไออาร์พีซี ทั้งในการดำเนินงานปัจจุบันและในอนาคต ดังนั้น ไออาร์พีซี จึงร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ด้วยการมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อปกป้องสิทธิของบริษัทฯ รวมถึงเพื่อยกระดับให้กลายเป็นธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรชั้นนำของภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ภายใต้ข้อกำหนด Sustainability Management Sub-Element 6.3 ไออาร์พีซีจะต้องส่งเสริมให้มีการปฏิบัติด้านความเป็นอิสระและโปร่งใส รวมถึงการสื่อสารและหารือกับผู้วางนโยบายอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ได้สนับสนุนหน่วยงานและสมาคมระดับชาติและนานาชาติ เพื่อส่งเสริมการวางแผนนโยบายสาธารณะและกฎระเบียบเพื่อพัฒนามาตรการต่อความยั่งยืน และช่วยผู้วางนโยบายผ่านประสบการณ์และการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านความยั่งยืนทั้งภายในและภายนอกองค์กร อย่างไรก็ตาม ไออาร์พีซี จัดทำนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชันเพื่อระบุการเป็นกลางด้านการเมือง หรือการที่ไม่ได้สนับสนุนพรรคการเมืองในทางตรงหรือทางอ้อม แต่ให้การสนับสนุนกฎเกณฑ์ตามระบบประชาธิปไตย แม้ว่า คณะกรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร และพนักงานมีสิทธิเสรีภาพทางการเมืองตามกฎหมาย ไออาร์พีซี ขอห้ามการออกความเห็นในทุกรูปแบบที่อาจส่งผลกระทบไปยังชื่อเสียงขององค์กร

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี หัวข้อที่ 3 นโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน หน้า 20-21

ในปี 2565 ไออาร์พีซี ได้สนับสนุนให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมาคมอุตสาหกรรมและการค้า หรือTax-Exempt Groups ดังรายชื่อต่อไปนี้

ชื่อหน่วยงาน
ประเภทของหน่วยงาน
จำนวนสนับสนุนทางการเงิน (บาท)
จำนวนทั้งหมด (บาท)
2019
2020
2021
2022
Lobbying, interest representation or similar
0
0
0
0
0
Local, regional, or national political campaigns / organizations / candidates
0
0
0
0
0
Trade Association
Oil Industry Environmental Safety Group Association
1,284,000
4,766,000
4,302,000
4,654,234
15,006,234
Thai Institute of Directors (IOD)
500,000
500,000
500,000
500,000
500,000
Responsible Care Management Committee of Thailand, Chemical Industry Club of the Federation of Thai Industries (RCMCT)
241,820
336,000
308,600
312,670
1,199,090
Thailand Business Council for Sustainable Development
250,000
250,000
250,000
250,000
1,000,000
Anti-Corruption Foundation
2,000,000
1,000,000
1,000,000
1,000,000
5,000,000
Tax-exempt Group
Foundation for the Global Compact
458,715
470,312
480,435
528,750
1,938,212
Petroleum Instituted of Thailand
440,000
470,800
440,000
440,000
1,790,800
จำนวนสนับสนุนทางการเงินทั้งหมด
5,174,535
7,793,112
7,281,035
7,685,654
26,434,336

 

การสนับสนุนและรายจ่าย (Largest Contributions and Expenditures)

เพื่อแสดงเจตนารมณ์ความโปร่งใสขององค์กร ในด้านการสนับสนุนทางการเมือง ไออาร์พีซี จึงเปิดเผยข้อมูลการสนับสนุนบนฯ บนเว็บไซต์บริษัทฯ  โดยไออาร์พีซี มีประเด็นที่สำคัญดังต่อไปนี้

ประเด็นที่สำคัญ
คำอธิบายของการมีส่วนร่วมกับบริษัท
จำนวนค่าใช้จ่ายในปี 2564 (บาท)
ส่งเสริมความยั่งยืนในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และปิโตรเคมี
ไออาร์พีซี สนับสนุนและมีส่วนร่วมในการตั้งกฎเกณฑ์ของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ซึ่งกฎเกณฑ์ดังกล่าวจะส่งผลบวกให้กับอุตสาหกรรมในภาพรวม
วัตถุประสงค์ของการสนับสนุนคือการดำเนินธุรกิจตามกฏหมายให้เทียบเท่ากับมาตรฐานสากล
โดย ไออาร์พีซี ยึดมั่นความเป็นกลาง (Neutral Position) ในการสนับสนุนเพื่อไม่ให้มีผลกระทบไปยังภาพลักษณ์ขององค์กร หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการคอร์รัปชัน
ในปี 2564 ไออาร์พีซี ได้สนับสนุนสมาคมต่างๆ ดังนี้ องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development) อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (The Federation of Thai Industries) สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (Petroleum Institute of Thailand) สถาบันวิจัยพลังงาน (Energy Institute) สมาคมอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน (Oil Industry Environmental Safety Group Association)
20,506,234
ความรับผิดชอบทางธุรกิจเพื่อการดำเนินงานในระยะยาว
ไออาร์พีซี ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจตามแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืน เป็นองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจขององค์กร
2,989,890
ขับเคลื่อนความยั่งยืนเพื่อเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์
2,938,212

 

ไออาร์พีซี ยึดมั่นในการแสดงความเป็นกลางทางการเมือง โดยไม่สนับสนุนด้านการเงินให้แก่พรรคการเมือง กลุ่มการเมือง หรือ ผู้สมัครรับเลือกตั้งทางการเมือง ทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค หรือ ระดับชาติ นอกจากนี้ ไออาร์พีซี ตระหนักดีว่าการบริจาคเพื่อการกุศล อาจส่งผลกระทบไปยังภาพลักษณ์ขององค์กร ในแง่ของการทุจริตคอร์รัปชันได้ ดังนั้น ไออาร์พีซี จึงยึดถือหลักปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันอย่างเข้มงวด รวมถึงไม่ให้การสนับสนุนหรือบริจาคที่อาจเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชัน

 

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถเลือกตั้งคำยินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “การตั้งค่าคุกกี้” การตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ประเภทจำเป็นถาวร (Strictly Neccessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้เหล่านี้คือคุกกี้ที่มีความจำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ และให้ท่านใช้คุณสมบัติต่างๆในเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ (Analytical/Performance Cookies)

    คุกกี้เหล่านี้สามารถเก็บรวบรวมพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ รวมถึงรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของท่าน ซึ่งจะช่วยให้ท่านสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้เราเข้าใจถึงความสนใจของท่าน อีกทั้งยังสามารถวัดความมีประสิทธิผลของโฆษณาของเรา

ยินยอมตัวเลือกของฉัน